การปฏิบัติธรรม "ด้วยการปฏิเสธฌานสมาธิ" จะสำเร็จได้อย่างไร.?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 5 มกราคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    การไม่เคารพยำเกรงในสมาธิเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ


    Z3MeP8OQ5erU_P2Yw9jUbfKXD7BMpNSnQdOj-peoclZVVNjAxHnzYRddY2gkRo4-Zu0y9d4P&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)
    [๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
    [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
    บัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา
    เฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม
    ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็น
    ดังต่อไปนี้ ฯ
    [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรม
    ในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
    เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
    สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
    และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
    ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
    พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
    เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
    ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ
    ความผ่องใสแห่งใจภายใน ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
    เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
    สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
    และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
    ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
    พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
    เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
    ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย
    เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่
    พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ก็ธรรมในตติยฌาน
    คือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
    เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
    สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
    และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา
    ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
    พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
    เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
    ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน
    อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ก็ธรรมในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา
    อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเต-
    *กัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
    สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตร
    รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
    เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
    ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรม
    นั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรม
    เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
    ให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากาสานัญ-
    *จายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดย
    ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ก็ธรรม
    ในอากาสานัญจายตนฌาน คือ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
    เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
    มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
    ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า
    ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
    กิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอัน
    กระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่ง
    ขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากาสา-
    *นัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
    วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตน-
    *ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
    วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
    สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
    เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
    แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
    ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
    ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญ-
    *จายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่
    มีอะไรสักน้อยหนึ่ง อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตน
    ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
    วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
    สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
    เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
    แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
    ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
    ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญ-
    *ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็น
    ผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว
    แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว
    ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษ
    แล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
    ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่
    ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญา
    นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็น
    ด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้น
    แล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการ
    นี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
    ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
    มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัด
    ออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็น
    ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
    อริยวิมุติ ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้
    ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
    อริยวิมุติ ฯ
    [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร
    เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
    อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร
    นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
    เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรม
    ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศ
    ธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
    ทีเดียว ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระ
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล ฯ
    จบ อนุปทสูตร ที่ ๑
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ในศาสนานี้พระพุทธเจ้ายกเรื่องปัญญาเป็นอันดับสูงสุด โดยไล่เรียงมาตั้งแต่ มีวิมุตติเป็นแก่น มีฉันทะเป็นมูลราก และมีปัญญาที่มีความคมเป็นอันดับสูงสุด (ศรัทธา ศีล สมาธิ ล้วนแต่มาสนับสนุนปัญญา ทุกอย่างจะมีปัญญาเป็นอันดับสูงสุด) ท่านพระมหาสารีบุตรทรงได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในด้านเป็นผู้มีปัญญามาก

    การได้มาซึ่งความเป็น หนึ่งใน หมู่อสีติมหาสาวก 80 รูป ในด้านผู้มีปัญญาเลิศนั้น ต้องสร้างสมบารมีเอาไว้ คือ ท่านพระสารีบุตรได้ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีตว่า “ฉันจะเป็นยอดในเรื่องปัญญา” ในยุคพระพุทธเจ้าองค์นั้น ได้เห็น ภิกษุรูปนั้นได้ถูกยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในด้านมีปัญญา เลยมีจิตข้องอยู่ ว่าอยากจะเป็นผู้มีความเป็นเลิศทางด้านปัญญาเหมือนท่านองค์นั้น เช่นกัน

    ความข้องนี้เองที่เราเรียกว่า “โพธิสัตว์” ความข้อง ความยึดนี้ล่ะที่เป็นเหตุให้ไม่บรรลุธรรมสูงสุด จึงเรียกว่าโพธิสัตว์ แต่ว่าเป็นโพธิสัตว์ ชนิดสาวกโพธิสัตว์ ถ้ายังมีความข้องในสัมมาสัมพุทโธ ก็เป็น สัมมาสัมพุทโธโพธิสัตว์ ถ้าข้องในความเป็นปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็น ปัจเจกโพธิสัตว์ และถ้าข้องในความเป็นสาวก เป็นอนุพุทโธ ก็เป็น สาวกโพธิสัตว์ ก็ต้องบำเพ็ญบารมีมาสองแสนกัป นอกจากนี้ยังรวมถึง พุทธบิดา พุทธมารดา พุทธอุปัฏฐาก ท่านเหล่านี้ต้องมีการบำเพ็ญบารมีมาทั้งหมด

    เมื่อกล่าวถึงท่านพระมหาสารีบุตร แล้วจะไม่กล่าวถึง ท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นไม่ได้ เพราะทั้งสองรูปท่านเป็น 2 ใน อสีติมหาสาวก 80 รูป ผู้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นอัคนสาวกเบื้องขวา (ท่านพระสารีบุตร - ผู้มีความเป็นเลิศทางด้านปัญญา) และอัครสาวกเบี้องซ้าย (ท่านพระมหาโมคคัลลานะ - ผู้มีความเป็นเลิศทางด้านฤทธิ์)

    ทั้ง 2 ท่านเกิดในสมัยพระพุทธเจ้าโคดม ในกรุงราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ก่อนที่จะมาเป็นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ชื่อเดิมของท่านคือ อุปติสสะ และ โกลิตะ พระสารีบุตรเกิดในหมู่บ้านชื่อว่า อุปติสสะ หัวหน้าหมู่บ้าน มีลูกเลยตั้งชื่อลูก ตามชื่อหมู่บ้านว่าอุปติสสะ ส่วนพระโมคคัลลานะ เกิดในหมู่บ้านที่ชื่อว่าโกลิตะ จึงเป็นชื่ออุปติสสะ และโกลิตะ ในชาตินั้น เป็นคนที่มีความขยันขันแข็ง มีความรู้ความเรียนในแบบต่าง ๆ เป็นเพื่อนกันสนิทกัน มีอะไรดี ๆ ก็หามาแบ่งปันกัน

    ด้วยความที่ท่านทั้งสองมีอินทรีย์แก่กล้าแล้วทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากโลก จึงได้พากันออกแสวงหาโมกขธรรม ด้วยการไปบวช โดยในสมัยนั้น มีสำนักที่มีชื่อเสียงในทางที่จะศึกษาความรู้เพื่อนำพาไปสู่ความพ้นจากทุกข์ ที่เรียกว่า ครูทั้ง 6 : สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิโครธ มักขลิโคสาละ เป็นต้น ท่านทั้ง 2 พร้อมด้วยบริวารของตน มีเพื่อน อยู่ประมาณสัก 200-300 คน จึงพากันไปอยู่ที่สำนักของ สัญชัย เพื่อศึกษาหาความรู้ว่า พ้นทุกข์ทำยังไง และ แต่เมื่อได้เรียนรู้จนจบแล้ว ก็ยังไม่ได้รับคำตอบว่า ความรู้ความเรียนนี้จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไรก็เลยออกแสวงหาความรู้ต่าง ๆ ต่อๆ ไป

    ประจวบพอดีที่ พระพุทธเจ้าได้ประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤกคทายวันและได้ตรัสกับเหล่าพระอรหัตสาวก 60 รูปแรกที่จำพรรษาอยู่ที่นั้น ว่า “จรถ ภิกฺขเว = พวกเธอจงไป”
    “จงอย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป จงแสดงธรรมให้มีความงดงาม เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด สัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่น้อยก็ยังมี ให้แสดงธรรมไป” ด้วยคำนี้เหล่าพระอรหันต์ จึงได้ออกไปแสดงธรรมคนละทิศ ไม่ไปทิศทางซ้ำกัน

    ขณะนั้น ท่านพระอัสสชิ ซึ่งเป็นหนึ่งในภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้เดินทางมาที่หมู่บ้านอุปติสะ และ หมู่บ้านโกลิตะ และได้เข้าไปบิณฑบาตรในเมืองราชคฤห์ และท่านพระสารีบุตรซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้บวช ยังเป็นอุปติสสะมานพ ก็เห็นว่า พระรูปนี้แตกต่างจากพระรูปอื่น ๆ มีอินทรีย์ผ่องใส ท่าทางการเดินมีความสำรวม ต้องมีคุณธรรมอะไรแน่นอน จึงคิดว่าจะมีสามัญญผลอะไรในภิกษุรูปนี้แน่นอน คิดไปว่าท่านต้องเป็นพระอรหันต์แน่ ต้องรู้ที่สุดจบของธรรมะอะไรสักอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน เมื่อคิดเช่นนั้นจึงได้ติดตามพระอัสสชิไป และได้ขอให้ท่านพระอัสสชิกล่าวสอนธรรมะที่ท่านพระอัสสชิได้เล่าเรียนมาจากพระพุทธเจ้า

    ในช่วงนั้นพระพุทธเจ้าสอนเรื่องอริยสัจสี่ สอนเรื่อง อนุปุพพอกถา อนัตตลักขณสูตร ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ด้วยความที่ท่านพระอัสสชิเป็นคนถ่อมตัวจึงได้บอกว่าท่านเพิ่งมาจากธรรมวินัยนี้ และได้สอนท่านพระสารีบุตร ด้วย คาถาเยธัมมา ว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับไปแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปรกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้” (และด้วย คาถาเยธัมมาของ ท่านพระอัสสชิ ได้ทำให้ท่านพระสารีบุตรบรรลุเป็นพระโสดาบันได้)

    ทำให้ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะ เป็นที่รัก ที่ไว้วางใจของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก ถ้าทั้ง 2 ท่านนี้อยู่ที่ไหน ทิศทางนั้นจะมีแต่ความสบายใจ แต่หากไม่อยู่แล้วทิศทางนั้น ๆ จะมีแต่ความว่างเปล่า หาสาระไม่มี คือ โมฆะ หาสาระไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ไม่เจอ แม้ช่วงที่ท่านทั้งสองจะไม่ได้อยู่กับพระองค์พระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ทั้ง 2 นี้ยังมีอยู่เสมอ

    พระพุทธเจ้าเคยตรัสถึงทั้งสองท่านนี้ไว้ว่า “ท่านพระสารีบุตรเป็นเหมือน มารดาผู้ให้กำเนิด เพราะเป็นผู้ที่แสดงธรรมและทำให้คนบรรลุธรรมเป็นโสดาบันกับภิกษุเหล่าต่างได้ ปรับความเห็นให้ถูกต้อง ส่วนท่านพระมหาโมคคลานะเป็นเหมือน มารดาผู้เลี้ยงดู-เป็นเสมือนแม่นม สอนให้เป็นพระอรหันต์ต่อไป”

    ในการบรรลุธรรมของท่านพระสารีบุตรนั้น ท่านกล่าวว่าท่านปฏิบัติแบบทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) ใช้เวลา 14 วันในการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ โดยใช้วิธีการเห็นทุกข์ในสมาธิว่ามันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ได้คงตัว ส่วนท่านพระมหาโมคคลานะ ท่านปฏิบัติแบบ สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว) ใช้เวลา 7 วัน โดยการเห็นความสุขในสมาธิ คือเข้าสมาธิ ก็จึงบรรลุธรรม

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงพระสารีบุตรไว้ว่า เราไม่เห็นคนอื่นแม้คนใดคนหนึ่งที่จะเผยแผ่ โดยชอบซึ่งธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ได้เหมือนสารีบุตร คือ ท่านพระสารีบุตรสามารถยังธรรมจักรให้เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าขับเคลื่อนได้ ด้วยคุณสมบัติของท่านทำให้สามารถหมุนธรรมจักรได้ตามที่พระพุทธเจ้าหมุนไว้แลัว และเราก็หมุนตามธรรมจักรนั้น คือเรื่องของอริยสัจสี่ ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ เป็นคนรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ รู้กาล รู้บริษัท ด้วยคุณธรรม 5 ข้อนี้ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านมี ปัญญาของท่านพระสารีบุตรแตกฉานไปในเรื่องนี้

    คุณสมบัติ คุณความดี ความเลิศของท่านพระสารีบุตร นั้นยังมีอีกมาก ทั้งในความกตัญญู (บวชให้ท่านพระราธะ ผู้ซึ่งไม่มีใครบวชให้ด้วยความที่เป็นพราหมณ์ที่มีอายุมาก ด้วยเห็นคุณในก้อนข้าวของท่านราธะ) เป็นลูกที่ดี (เทศน์โปรดมารดาผู้เป็นมิจฉาทิฐิให้เป็นพระโสดาบัน) เป็นเพื่อนที่ดี (ชักชวนท่านพระมหาโมคคัลลานะไปเรียนธรรมะ ไปหาพระพุทธเจ้าและได้บวชเรียนอยู่ในสำนักของพระโคดม จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์) เป็นพี่ที่ดีเป็นที่พึ่งให้พี่น้องได้ (ชักชวนพี่น้องชาย-หญิงทั้ง 6 คนมาบวช ปรารถนาให้เห็นอมตะธรรม ให้ได้อริยะทรัพย์) เป็นลูกศิษย์ที่ดี (ชวนอาจารย์เก่า-สัญชัยปริพาชกไปหาพระพุทธเจ้า เพื่อขอบวช แต่สัญชัยปริพาชกไม่ได้ไปด้วย) อีกทั้งมีความกตัญญูต่อท่านพระอัสสชิมาก (ผู้ซึ่งทำให้ท่านได้มีดวงตาเห็นธรรมครั้งแรก) เป็นคนที่มีความอดทนมาก (ถูกยักษ์ทำร้ายแต่ไม่ได้ใส่ใจ ส่งผลให้ยักษ์ตนนั้นถูกธรณีสูบ) ในฝ่ายสาวกนั้นมีท่านพระสารีบุตรรูปเดียว ที่มีคุณธรรมสูงมาก ทำให้เมื่อมีคนมาทำไม่ดีกับท่านแล้วถูกธรณีสูบ นอกจากนี้ท่านเป็นอาจารย์ที่ดี (สามารถสอนธรรมะ แจกแจงให้ได้โดยละเอียด พิสดารหลายนัยยะ)

    ท่านยังได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น “ธรรมเสนาบดี” รองจากพระพุทธเจ้า สลับกันเป็นทัพหน้าทัพหลัง จะตามเคียงคู่กันไป เช่นนี้ตลอด นอกจากนี้พระพุทธเจ้าได้อธิบายเพิ่มเติมว่า พระสารีบุตรมีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญากล้า มีปัญญาไว้ มีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส อีกทั้งมีฌานสมาธิมาก สามารถเข้าออกได้ดีมาก แจ่มแจ้งมาก เห็นชัดเจนมาก

    พระสูตร / เรื่องที่เกี่ยวข้อง

     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    พระสารีบุตรกล่าวว่า

    ภิกษุพึงได้สมาธิโดยไม่สำคัญ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ เป็นอารมณ์

    แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ด้วยการเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน




    อ่าน สมาธิสูตร ๔
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
    หน้าต่างที่ ๗ / ๑๐.



    ๗. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ [๒๑๐]
    ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.
    มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก
    เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.
    แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.
    พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"
    จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."
    พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?" ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"
    จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"
    เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."
    ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#- ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.
    ____________________________
    #- อาการ ๕ คือ
    อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก,
    อธิฏฐานะ การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.

    พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.
    ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้วจึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."
    ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้นอันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.
    ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"
    จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ พระศาสดาทรงทราบว่า "บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น. ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า "นั่นอะไรหนอ?" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า. ท่านลุกขึ้นแล้วประคองอัญชลี.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๗. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
    กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
    สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
    นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
    เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอน
    ดอกโกมุทที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ, จงเจริญทางแห่ง
    สันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพาน อันพระสุคตแสดง
    แล้ว.

    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.
    บทว่า สารทิกํ ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.
    บทว่า สนฺติมคฺคํ คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน.
    บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ.
    บทว่า นิพฺพานํ ความว่า เพราะพระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทางแห่งพระนิพพานนั้น.
    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    สีลสูตร
    [๑๖๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย

    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย

    สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี

    ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูต

    ญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัย

    ถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็น

    ธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อม

    ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก กะพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด

    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัย

    ถูกขจัดเมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ

    ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทา

    วิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อม
    ด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์

    ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติ

    ญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เปรียบ

    เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก

    กะพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิ

    ของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่

    ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถา
    ภูตญาณทัสสนะมีอยู่นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วย

    ธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์

    ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

    จบสูตรที่ ๘
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    (อานาปานสติ เป็นยอดแห่ง...กรรมฐาน

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยืนยันว่า...กรรมฐาน
    สี่สิบห้อง เป็นน้องอานาปานสติ)

    " อานาปานสติเป็นยอดมงกุฏ ของกรรมฐาน
    ทั้งหลายอยู่แล้ว
    ศาสนาอื่น ๆ นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว
    ไม่ได้ เอามาสั่งสอนให้ปฏิบัติกันเลย
    เพราะ...กรรมฐานอันนี้ บริบูรณ์พร้อมทั้ง
    สติปัฏฐาน ๔ ไปในตัวด้วย และเป็นแม่เหล็ก
    ที่มีกำลังดึงกรรมฐานอื่น ๆ ให้เข้ามาเป็นเมือง
    ขึ้น ของตัวได้

    เช่น พระมหาอนัตตคุณของ พุทโธ ธัมโม
    สังโฆ สีโล จาโค กายคตา แก่ เจ็บ ตาย
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้
    เป็นต้น

    ย่อม มีอยู่จริง
    ย่อม มีอยู่พร้อม ทุกลมหายใจเข้า-ออก
    แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ย่อมจริง
    ย่อม มีอยู่ทุกลมออก-เข้าแล้ว ไม่ต้องไปค้น
    ไปหา ไปจด ไปจำ ไปบ่น ไปท่อง ทางอื่น
    ก็ได้

    ถ้าไม่หลงลมเข้า-ออกแล้ว
    โมหะ อวิชชา วัฏจักร มันจะมารวมพล
    มาจากโลกหน่อยไหนล่ะ
    หลงลมออก-เข้า ก็หลงหนังเหมือนกัน
    ถ้าไม่หลงหนัง ก็ไม่หลงลมออก-เข้า
    โดยนัยเดียวกัน

    ดูโลก ก็ดูทุกข์
    ดูทุกข์ ก็ดูโลก
    ดูสังขาร ก็ดูทุกข์
    ดูทุกข์ ก็ดูสังขาร

    พ้นโลก ก็พ้นทุกข์
    พ้นทุกข์ ก็พ้นโลก
    พ้นสังขาร ก็พ้นทุกข์
    พ้นทุกข์ ก็พ้นสังขาร มีความหมายอันเดียว
    กันทั้งนั้น ไม่ผิด

    รู้ลมเข้า-ออกในปัจจุบัน
    รู้ลมออก-เข้าในอดีต
    รู้ลมออก-เข้าในอนาคต
    รู้...ผู้รู้ ในปัจจุบัน
    รู้...ผู้รู้ ในอดีต
    รู้...ผู้รู้ ในอนาคต แล้วไม่ติดข้องอยู่ใน...
    ผู้รู้ ทั้งสามกาล

    ผู้นั้น ก็ดับรอบแล้ว ในโลกทั้งสามด้วยในตัว
    อวิชชา และสังขาร(ความปรุงแต่ง) เป็นต้น
    ก็ดับไป ณ ที่นั้นเอง
    ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ก็ดับไป ณ ที่นั้นเอง

    กองทัพธรรม มีกำลังสมดุลย์ด้วย...สติปัญญา
    กองทัพอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น
    ย่อมแตกสลาย ไม่ต้องพูดไปหลายเรื่อง หลายแบบ ก็ได้

    พระอาทิตย์...ส่องแสงจ้า มืดมิดนั้นนา
    ไม่ได้ สั่งลาหายวับไป ณ ที่นั้น."
    -----------------------------------------------------------------
    (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เล่าในเรื่องอานาปานสติ
    ให้หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ไปพิจารณา)

    YFk3o-A0MFN1vtw96lKVoB8Yes0Vf_XjjfmEvl6MzXanmX4tzsjab7ujiyUtyujyfBLKefWe&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๓


    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร

    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ



    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่าน ตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงสุญญตาคือความว่าง ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงอยู่โดยมากด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเครื่องอยู่คือสุญญตาความว่างทั้งเมื่อก่อนแต่นี้ และทั้งในเวลานี้คือเวลาที่ตรัสเล่าเรื่องนี้และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงถึงวิธีปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง ตั้งแต่เบื้องต้นขึ้นไปโดยลำดับ

    ก็โดยที่บุคคลสามัญทั่วไปนั้นในขณะที่อยู่เฉยๆ มิได้ทำอะไรในบางคราว ก็รู้สึกว่าว่างอันเป็นที่รำคาญ ไม่ผาสุกแต่หากให้ทำอะไรต่างๆรู้สึกว่าไม่ว่าง ก็ทำให้เพลินไปในการงานต่างๆ ที่ทำนั้นแต่อันที่จริงในขณะที่ต้องมาอยู่ว่าง เช่นในขณะที่เจ็บป่วยก็ดี หรือในขณะที่ลาเข้ามาบวช พักการพักงานชั่วระยะหนึ่งก็ดี ที่รู้สึกว่าว่าง ไม่มีอะไรจะทำ น่ารำคาญ และมีความทุกข์ ไม่สบายอยู่กับความว่าง ไม่มีอะไรจะทำดังกล่าวนั้น

    แต่อันที่จริงความว่างที่เข้าใจว่าว่างอันทำให้รำคาญนี้หาได้ชื่อว่าสุญญตา คือความว่าง อันเป็นธรรมปฏิบัติในพุทธศาสนาไม่เพราะว่า จิตใจไม่ว่าง เต็มไปด้วยนิวรณ์ต่างๆ ว่าถึงนิวรณ์ ๕ ก็เป็น กามฉันท์ ความยินดีรักใคร่อยู่ในกามบ้าง เป็น พยาบาท ความหงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคืองต่างๆบ้างเป็น ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มบ้าง เป็น อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญบ้าง เป็น วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ บ้าง

    ใจจึงไม่สงบเพราะมีอาลัยความผูกพัน ติดอยู่ในสิ่งนั้นบ้าง ในสิ่งนี้บ้างในบุคคลนั้นบ้าง ในบุคคลนี้บ้าง ซึ่งโดยปรกตินั้นเมื่อมีความอาลัยผูกพันอยู่ดั่งนี้ก็มักจะไปหาสิ่งที่มีอาลัยผูกพัน หรือบุคคลที่มีอาลัยผูกพันอยู่ได้ (จบ ๒/๑)(ข้อความน่าจะไม่ต่อเนื่อง)( เริ่ม ๒/๒) แล้วก็มีอารมณ์ ที่ไม่ดีก็เป็นโกรธ เป็นไม่พอใจ เหล่านี้เป็นต้น ใจไม่ว่าง ใจไม่สงบ

    เพราะฉะนั้น ความว่างก็คือตัวความสงบ และคือตัวอุเบกขาความที่รู้วาง ไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่ง ใจสงบ ใจวาง แม้รู้อยู่ก็สงบได้ วางได้ ดั่งนี้ จึงจะเป็นสุญญตาคือความว่าง

    สุญญตา ความว่าง

    และสุญญตาคือความว่างที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น หากหัดปฏิบัติไปตามที่ทรงสั่งสอนตั้งแต่ในเบื้องต้น ก็ย่อมจะทำได้สะดวกจะทำให้จิตใจนี้ว่างจากอารมณ์ที่ปรุงใจ ว่างจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ไปโดยลำดับเพราะฉะนั้นจะอยู่ที่ไหน จะป่วยหรือไม่ป่วย จะบวชหรือไม่บวชก็สามารถที่จะพบกับสุญญตาคือความว่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ได้หากไม่ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ก็จะไม่ได้พบสุญญตาคือความว่างเจ็บป่วยก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง บวชก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่างเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง เป็นบรรพชิตก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง

    เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมะ จึงต้องฝึกหัดปฏิบัติทำสุญญตา คือความว่างตามที่ทรงสั่งสอนดั่งที่ได้แสดงมาแล้วโดยลำดับ แต่ว่าจะได้แสดงทบทวนในตอนท้ายซึ่งจะเป็นทางนำการปฏิบัติไปด้วย

    ความหมายของเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    ก็ได้แสดงมาถึงที่ตรัสสอนให้ มนสิการ คือทำใจกำหนดในจิตอย่างละเอียด จนถึงปล่อยอารมณ์ทั้งหมดทั้งที่เป็น รูปารมณ์ อารมณ์ที่เป็นรูป หรือดังที่เรียกว่ารูปฌาน รูปสมาบัติกับทั้ง อรูปารมณ์ อารมณ์ที่ไม่มีรูป ดังที่เรียกว่าอรูปฌาน หรืออรูปสมาบัติ แต่ก็ไม่หมดทีเดียว ถึงไม่หมดก็ละเอียดที่สุด เกือบจะหมด คือในข้อที่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือมีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก แม้เป็นสัญญา คือความกำหนดหมายที่ละเอียดมาก จิตนี้ก็สว่างโพลง ตั้งมั่น มีความรู้อยู่เต็มที่ มีความเข้าไปเพ่งอยู่เต็มที่ คือเข้าไปเพ่งอยู่กับสิ่งที่ไม่มีนั้น แต่ว่าอันที่จริงนั้นก็ยังมีอยู่อีกหน่อยหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มีไปทั้งหมด

    คล้ายๆ กับว่า รู้สึกว่าจะมีคนหลบอยู่ในห้องๆ หนึ่งก็เข้าไปในห้องนั้น แล้วก็ค้นหาว่ามีใครอยู่ในห้องนั้น ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง ก็ไม่พบใครสักคนหนึ่ง จึงมีความเข้าใจว่าไม่มีใครอยู่ในห้องนั้น แต่อันที่จริงนั้นลืมนึกไปถึงว่า มีตัวเองอยู่ในห้องนั้นอีกหนึ่งคน คือตัวเองซึ่งเป็นผู้ค้นหานั้น เพราะฉะนั้นไม่มีใครอื่น เรียกว่าไม่มีอารมณ์ทั้งที่เป็นรูป ทั้งที่เป็นอรูป อื่นๆ ทั้งหมดแต่ว่าก็ยังมีตัวเราอยู่ อันเป็นที่ยึดถืออยู่ และในการค้นหานั้นก็ยังเป็นการค้นซึ่งแสดงว่ายังไม่เสร็จกิจ ยังต้องค้น ยังต้องปรุงแต่งการค้น

    เพราะฉะนั้นที่ว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่นั้น ก็หมายความว่ามีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก ไม่ถึงจะกล่าวว่าเป็น รูปสัญญา กำหนดหมายในรูป

    สัทสัญญา กำหนดหมายในเสียง หรือในอากาศ ช่องว่าง ในวิญญาณที่เป็นตัวรู้หรือในอะไรๆ ที่แม้น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ในสิ่งที่เป็นช่องว่างนั้นแต่ก็ยังมีตัวสัญญาที่กำหนดอยู่นั่นแหละ คือกำหนดว่าไม่มีความกำหนดว่าไม่มีนั้นเองก็เป็นสัญญา

    ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงว่า แม้หัดปฏิบัติมาถึงขั้นนี้ก็ยังมีเหลืออยู่อย่างหนึ่งคือกายนี้ที่มีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัยกับทั้งยังมีตัวสัญญาที่แม้ว่าจะไม่ชัดเจน เพราะเป็นความกำหนดอยู่ว่า น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ตัวความกำหนดนั้นก็ยังเป็นตัวสัญญา แต่เป็นอย่างละเอียด

    อนิมิตเจโตสมาธิ

    ฉะนั้นในขั้นต่อไป จึงได้ตรัสสอนให้ไม่ใส่ใจถึงความกำหนดหมายอันเป็นตัวสัญญาที่ละเอียดดังกล่าว แต่ให้ใส่ใจถึงข้อที่เรียกว่า อนิมิตเจโตสมาธิ คือสมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตสำหรับกำหนดหมาย

    อัน อนิมิตเจโตสมาธิ สมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตเป็นเครื่องกำหนดหมายนี้ เป็นสิ่งที่ละเอียดมากและโดยปรกติก็แสดงในขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ และพระอาจารย์โดยมากก็แสดงอธิบายเป็นวิปัสสนากรรมฐานไปทีเดียวว่า

    คือปัญญาที่พิจารณานิมิต คือสิ่งที่กำหนดทั้งหมดของจิตใจหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า ขันธ์ ๕ ก็ดี นามรูปก็ดี หรือว่ารูป
    หรือว่ากาย เวทนา จิต ธรรม ก็ดี หรือว่าอายตนะ หรือว่าธาตุก็ดี ซึ่งทั้งหมดก็มีอยู่ในกายและใจอันนี้ทั้งหมด
    ไม่กำหนดยึดถือในสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาคือเป็นตัวเราของเรา
    แต่ทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้เป็นอนัตตาไม่ใช่อัตตาตัวตน
    และเมื่อได้พิจารณาจนได้ปัญญาในไตรลักษณ์ดั่งนี้จึงไม่มีนิมิต คือไม่มีความยึดถือของจิตที่กำหนดในอะไรๆทั้งสิ้นว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาตัวตน ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ

    อนึ่ง ก็อาจพิจารณาได้อีกว่าอนิมิตเจโตสมาธินั้น สูงกว่าขั้นที่กำหนดในสัญญาอย่างละเอียดเป็นสัญญาที่กำหนดในความไม่มี น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีซึ่งเป็นตัวสัญญาเหมือนกัน ละเอียดจนถึงว่าไม่ถนัดที่จะเรียกว่ามีสัญญา แต่ก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่าไม่มีสัญญา เพราะมีเหมือนกัน

    ซึ่งในขั้นอนิมิตนี้ก็เป็นอันว่าเลิกสัญญากันทั้งหมด จิตเข้าสู่ธรรมชาติของจิต
    ธรรมชาติของจิตนั้นคือ เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ เป็นอภัสรธาตุ คือธาตุที่ผ่องใส ทั้งสองนี้เป็นธรรมชาติของจิต รู้และผ่องใส
    ในขั้นอนิมิตเจโตสมาธินี้ จิตจึงตั้งสงบอยู่ภายใน ประกอบด้วยความรู้ประกอบด้วยความผ่องใส ไม่ออกมากำหนดอะไรๆ ทั้งหมด หยุดสงบอยู่ในภายในจึงไม่มีสัญญาในอะไรๆ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่ในภายใน แต่ว่ารู้ รู้และผ่องใส

    อนิมิตเจโตสมาธิในภาวะปรกติธรรมดา

    อาจจะเป็นอนิมิตเจโตสมาธิในขณะที่ยังอยู่เป็นปรกติธรรมดานี้ก็ได้ เช่นว่า ไม่ได้นั่งเข้าที่เข้าทางอะไร
    ตาก็ลืม หูก็ฟัง จมูก ลิ้น กาย ก็รับ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่า มโน คือใจ นั้นไม่ออก
    ตั้งสงบอยู่ด้วยความรู้และความปภัสร คือผุดผ่องเท่านั้น อะไรผ่านเข้ามาทางตาก็รู้ก็เห็น เสียงอะไรดังขึ้นก็ได้ยิน เหล่านี้เป็นต้น
    แต่ว่าจิตรู้แล้วก็แล้วไป เห็นก็แล้วไป ได้ยินก็แล้วไป ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนด ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนด
    ทั้งในทางที่ก่อกิเลส ก่อโลภะ ก่อโทสะ ก่อโมหะ ทั้งในทางที่เป็นกรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก
    กำหนดผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กำหนดธาตุ ๔ เป็นต้น ที่เรียกว่าออกมากำหนดเป็นกรรมฐานไม่ออกมากำหนดทั้งหมด
    เห็นอะไรได้ยินอะไร ก็รู้รูป รู้เสียงเป็นต้น ก็แล้วไปเท่านั้น จิตตั้งสงบอยู่ในภายในด้วยความรู้ และด้วยความผ่องใส
    นิมิต อนิมิต

    ดั่งนี้แหละคือเป็นตัวอุเบกขาอย่างแท้จริง ในขั้นนี้จิตตั้งสงบอยู่ดั่งนี้ จึงไม่มีนิมิตคือเครื่องกำหนดอะไร เพราะไม่ออกไปกำหนด

    เมื่อจิตออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นจึงเป็นนิมิตขึ้นมา แต่เมื่อจิตไม่ออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่เป็นนิมิต
    เพราะฉะนั้นอาการที่จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ดั่งนี้เรียกว่าเจโตสมาธิ
    สมาธิของใจและตั้งสงบอยู่ไม่ออกไปกำหนดอะไร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางมนะคือใจ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่เฉยๆ
    อะไรมาก็เห็น อะไรมาก็ได้ยินเห็นหมดได้ยินหมดอย่างธรรมดานี่แหละ แต่ว่าตั้งสงบอยู่เฉยๆ ไม่ออกมากำหนด
    อันนี้แหละเป็นเป็นตัวเป็นอนิมิต เป็นอนิมิตเจโตสมาธิในความรู้นั้นอาจจะประกอบด้วยไตรลักษณญาณ
    รู้ในไตรลักษณ์ก็ได้หรือว่าไม่ได้นึกถึงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อะไร ก็ได้รู้สงบอยู่ภายในเฉยๆ
    ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ
    และแม้ได้ในขั้นนี้ซึ่งเป็นสุญญตาในขั้นปฏิบัติอย่างสูงสุดแต่ก็ยังมีเหลืออยู่ที่กายนี้ อันมีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัย
    อันที่จริงนั้นไม่ใช่เหลืออยู่เพียงกายนี้เท่านั้น ยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหลืออยู่ด้วยเหมือน
    อย่างตัวอย่างที่กล่าวแล้วเมื่อกี้นี้ ใช้เป็นตัวอย่างอันเดียวกันได้ว่าเข้าไปค้นหาใครอะไรในห้องๆหนึ่ง ก็ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นใคร
    ว่างไปทั้งหมดก็รู้สึกว่าว่าง ไม่มีใคร ไม่มีอะไร แต่อันที่จริงนั้นยังมีตัวเราอยู่ซึ่งเป็นผู้เข้าไปค้นนั้น
    และการค้นนั้นก็เป็นการปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าเป็นสังขาร คือความปรุงแต่ง และเมื่อน้อมเข้ามาว่าจิต ก็เป็นความปรุงแต่งจิตใจ
    ปรุงแต่งให้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิขึ้นเช่นเดียวกับปรุงแต่งในขั้นที่แสดงมาโดยลำดับ เป็นขั้นๆ ขึ้นมา
    เหมือนอย่างการขึ้นบันใดขึ้นมาทีละขั้น ก็ต้องปรุงแต่งการขึ้นๆ มา คือเดินขึ้นมาไม่ปรุงแต่งคือไม่เดิน ก็ขึ้นบันใดมาไม่ได้ การจะขึ้นได้ก็ต้องเดิน การเดินนั้นก็เป็นการปรุงแต่ง คือปรุงแต่งการเดินฉันใดก็ดี ในข้อนี้ก็ต้องเป็นการปรุงแต่ง คือการปรุงแต่งการปฏิบัติเพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นการปรุงแต่ง สิ่งใดที่เป็นการปรุงแต่ง สิ่งนั้นก็เป็นอนิจจะคือไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา คือเป็นสิ่งเกิดดับ

    ความปล่อยวาง

    เพราะฉะนั้น ในขั้นต่อไปจึงตรัสสอนให้หยุดปรุงแต่งดูเข้ามาในภายในเท่านั้น ไม่ปรุงแต่ง หยุดปรุงแต่งเพราะว่าปรุงแต่งขึ้นมาจนถึงขั้นที่สุดแล้ว เหมือนอย่างก้าวขึ้นบันใดมาถึงขั้นที่สุดแล้วก็เป็นอันว่าไม่ต้องก้าวขึ้นต่อไป หยุดก้าว เพราะว่าถึงขั้นที่สุดแล้วเมื่อหยุดปรุงแต่งดั่งนี้ ก็คือความปล่อยวาง

    พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผู้ที่ไม่ปรุงแต่งจิตจึงพ้นจากกามาสวะ อาสวะคือกามภวาสวอาสวะคือภพ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา

    อาสวะนั้นเป็นกิเลสที่ดองสันดาน ซึ่งตรัสจำแนกออกเป็นกามคือความรักความใคร่ ความปรารถนาเป็นภพคือความเป็น
    ตั้งต้นแต่เป็นเรา เป็นของเรา และเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ เป็นอวิชชาคือความไม่รู้ คือไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริงโดยตรง
    ก็ในอริยสัจจ์ตามที่ตรัสสั่งสอนเหล่านี้เป็นกิเลสที่ดองสันดานทุกๆ สัตว์บุคคล หรือเรียกว่าสัตว์โลก
    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่จะเสร็จกิจนั้น จึงต้องปฏิบัติให้สิ้นอาสวะดังกล่าว จึงเรียกท่านผู้ที่สิ้นอาสวะว่าพระขีณาสวะ หรือพระขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว หรือว่าสิ้นอาสวะกิเลสที่ดองสันดาน และเมื่อเป็นดั่งนี้จึงบรรลุถึงนิพพาน ธรรมะหรือธรรมชาติที่ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหมด

    นิพพาน

    อันนิพพานนั้นมาจากคำว่า นิ ที่แปลว่าไม่มี หรือแปลว่าออก กับ วานะ ที่แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดกันโดยมาก แต่บางทีก็แปลกันว่าลูกศร วานะคือกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดหรือลูกศรนี้ เป็นลูกศรที่เสียบจิตใจ ก็คือตัวความรักความใคร่ความปรารถนาบ้าง ความเป็นเราเป็นของเราบ้าง ตัวความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง อันทำให้หลงยึดถือต่างๆ ต่อไปบ้าง เหล่านี้เป็นกิเลสที่เหมือนลูกศรเสียบจิต

    บางทีก็ยกเอามาอันเดียวว่า ลูกศรที่เสียบจิตนี้ คือตัณหาความทะยานอยาก หรือความดิ้นรนทะยานอยาก เพราะว่าเป็นอาการที่กำหนดได้ง่าย จะเป็นกิเลสตัวไหนก็ตาม เมื่อมีอยู่แล้ว เสียบจิตใจอยู่แล้ว ก็ทำให้จิตดิ้นรนทั้งนั้นไม่สงบ น้อยหรือมาก ตัณหาจึงเป็นตัวลูกศรที่เสียบจิตหากยังถอนลูกศรที่เสียบจิตนี้ไม่ได้ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้

    ตัณหา นันทิ

    แต่บุคคลเรานั้นมักจะไม่ชอบถอนลูกศรที่เสียบจิตตัวนี้ออก ยังเพลิน ยังยินดี
    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ตัณหานี้ไปด้วยกันกับนันทิ คือความเพลินมีความยินดียิ่งๆ
    เพราะฉะนั้นจึงมักชอบที่จะหาตัณหามาเสียบจิตกันอยู่เสมอ มีตัณหาเสียบจิตอยู่แล้ว ก็ไปหามาเสียบจิตเข้าอีก
    เป็นบุคคลบ้าง เป็นสิ่งของบ้าง เป็นอะไรบ้าง ไม่หยุด เมื่อเป็นดั่งนี้จึงพ้นทุกข์ไม่ได้แต่เพิ่มทุกข์ให้มากขึ้น

    ฉะนั้นในทางปฏิบัติที่จะให้ถึงนิพพานนั้นก็คือว่า ปฏิบัติถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ออกนั้นเอง ที่มีอยู่ยังถอนไม่ได้ ก็ไม่หามาเพิ่มเข้าอีก
    และพยายามถอนที่เสียบอยู่แล้วให้หลุดไปโดยลำดับ ดั่งนี้ ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้หมดเมื่อไร ก็เป็นนิพพานเมื่อนั้น
    เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่ที่ไหน
    มีตัณหาเสียบจิตอยู่ก็ไม่ใช่นิพพาน ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้แล้วก็เป็นนิพพาน
    วิธีที่จะถอนตัณหาเสียบจิต

    พระพุทธเจ้าได้มีพระมหากรุณา ทรงแสดงสั่งสอนวิธีที่จะถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ไว้ด้วยคำสั่งสอนทุกข้อทุกบทที่ทรงสั่งสอน และโดยเฉพาะในข้อสุญญตานี้ได้ทรงสั่งสอนไว้ตั้งแต่ในขั้นต้น ผู้ต้องการปฏิบัติก็ปฏิบัติตามแนวสติ..(จบ ๒/๒ ) (ข้อความขาดนิดหน่อย) (เริ่ม ๓/๑ )

    เพราะฉะนั้นก็ต้องหัดกำหนดที่ กาย เวทนา จิต ธรรม นี่แหละว่าเป็นป่า ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ผู้คน ก็เป็นการกำหนดที่เรียกว่า อรัญสัญญา กำหนดป่าขึ้นมา แต่เมื่อยังมีกาย มีเวทนา จิต ธรรม อยู่ก็ง่ายที่จะน้อมน้าวจิตไปเป็นบ้าน เป็นผู้เป็นคน
    กำหนดอีกทีหนึ่งก็ ปฐวีสัญญา กำหนดให้เป็นแผ่นดินขึ้นมา เรียบราบเป็นหน้ากลองไม่มีภูเขา ต้นไม้ ห้วยหนองคลองบึง
    ไม่มีกาย ไม่มีเวทนา ไม่มีจิต ไม่มีธรรม เป็นธรรมชาติธรรมดา หรือเป็นธาตุไปทั้งหมด ขั้นนี้ก็สูงขึ้นมาไกลกิเลสอีก
    และต่อจากนี้ก็ตรัสสอนให้กำหนดเพิกแผ่นดินออกเสียทั้งหมด เป็นอากาศคือเป็นช่องว่างไปทั้งหมด
    ขึ้นไปสูงขึ้นไป ก็น้อมเข้ามาว่าเป็นวิญญาณคือตัวรู้ไปทั้งหมด
    สูงขึ้นไปอีก ก็กำหนดว่าในช่องว่างและในตัวรู้ที่แผ่ไปในช่องว่างนั้น น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
    สูงขึ้นไปอีกก็กำหนดดูว่าความที่กำหนดดั่งนั้น เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ละเอียดมาก
    อีกทีหนึ่งก็ อนิมิตเจโตสมาธิ จิตรวมเข้ามาสงบตั้งอยู่ภายใน ประกอบด้วยธาตุของจิต ๒ อย่าง
    คือธาตุรู้ และธาตุที่ปภัสรคือผุดผ่อง รู้อะไร ได้ยินอะไร เป็นต้น ก็ไม่กำหนด จึงเป็น อนิมิตะ
    อีกขั้นหนึ่งก็คือว่าทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นสังขารคือความปรุงแต่ง ยังต้องปรุงจิตปรุงใจเพราะฉะนั้น ก็ไม่ยึดถือ วางความปรุงแต่ง
    ความว่างที่เป็นปรมุตระ

    ตอนนี้เองที่จิตพ้นได้จากอาสวะกิเลสที่ดองสันดานทั้งหลาย ถอนตัณหาออกจากจิตใจได้ ถอนได้เมื่อไรก็เป็นนิพพานสิ้นทุกข์กันเมื่อนั้น จึงได้ตรัสว่าในข้อท้ายนี้เป็นสุญญตาคือความว่างที่เป็น ปรมุตระ ปรมะ ก็คือบรมอย่างยิ่ง อนุตระ ก็คือว่าไม่มีสุญญตาอื่นจะยิ่งขึ้นไปกว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีกายนี้ซึ่งมีอายตนะ ๖ อยู่เท่านั้น แต่ไม่มีกิเลสดองสันดานก็ทะนุบำรุงร่างกายนี้ไปจนกว่าจะนิพพาน คือดับขันธ์ในที่สุด นี้เป็นความที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในพระสูตรที่ว่าสุญญตานี้

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

    bar-white-lotus-small.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ?temp_hash=423e8ac68350164d2d8c7c0628654e3f.jpg




    การนอน การสงบเข้าฌาน
    เป็นอาหารของจิต
    และร่างกายอย่างหนึ่ง

    สมถะ ต้องพักจิต สงบอารมณ์
    ส่วนวิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ...
    เหนื่อยแล้วเข้าพักจิต
    พักจิตหายเหนื่อยแล้ว
    จิตตรวจอริยสัจอีก ดังนี้

    ฉะนั้น ให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต
    ทั้งวิปัสสนาและสมถะ
    พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้
    ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี
    จึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลายไปได้
    เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ
    เป็นมหาปัญญา
    มีทั้งศีลอย่างหยาบ อย่างกลาง
    อย่างละเอียด
    พร้อมทั้งจิต เจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ

    +++++
    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ผู้ใดทำสมถะและวิปัสสนา ผู้นั้นย่อมมีจิตตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
    ส่วนผู้ไม่ทำสมถะไม่ทำวิปัสสนา ผู้นั้นย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง
    ***********
    |๓๕.๓๗๒| นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ส เว นิพฺพานสนฺติเก ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…

    [๓๗๒] ฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
    ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
    ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแล
    จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน
    .............
    ข้อความบางตอนใน ๗. สัมพหุลภิกขุวัตถุ ภิกขุวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=34

    สองบทว่า นตฺถิ ฌานํ ความว่า ชื่อว่าฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้ ด้วยปัญญาเป็นเหตุพยายามอันยังฌานให้เกิดขึ้น.

    สองบทว่า นตฺถิ ปญฺญา ความว่า ก็ปัญญาซึ่งมีลักษณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง" ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่เพ่ง.

    บาทพระคาถาว่า ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ความว่า ฌานและปัญญาแม้ทั้งสองนี้มีอยู่ในบุคคลใด, บุคคลนั้นชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระนิพพานโดยแท้ทีเดียว.
    ...............
    ข้อความบางตอนใน เรื่องสัมพหุลภิกษุ ภิกขุวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35&p=7

    Tj9MMjp7IwPAL_FHOuj0Pia3Axw5X1CrgwcEEXGHkKx_&_nc_ohc=tP4KvniQwloAX9numW_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย การฝึกสมาธิที่เป็นองค์แห่งฌาน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...