เรื่องเด่น ศีลโพธิสัตว์ 58 ข้อ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 17 พฤศจิกายน 2004.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    987 copy1.jpg


    ศีลบารมี ในมหายานนั้นมีสิกขาบท 250 ข้อ ศีลโพธิสัตว์ 58 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็นครุกาบัติ 10 ข้อ และลหุกาบัติ 48 ข้อ จากหนังสือพระพุทธศาสนามหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย

    ครุกาบัติ 10

    1. ผู้ฆ่าชีวิตมนุษย์ให้ตายด้วยมือตนเอง ใช้ผู้อื่นกระทำ หรือเป็นใจสมรู้ ตลอดจนฆ่าชีวิตสัตว์เล็กใหญ่ให้ตาย ต้องสถานโทษหนัก
    2. ผู้ถือเอาของผู้อื่น มีราคา 5 มาสก ตลอดจนลักเอาของไม่มีค่าที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    3. ผู้เสพเมถุน นำนิมิตล่วงเข้าไปในทวารหลัก ทวารเบา หรือทางปากของผู้ชาย หรือผู้หญิงตลอดจนสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ต้องสถานโทษหนัก
    4. ผู้อุตตริมนุษยธรรม อวดรู้ฌานรู้มรรคผลที่ไม่มีในตน ตลอดจนพูดมุสาวาทที่ไม่ใช่ความจริง กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    5. ผู้ผลิตสุราเมรัยน้ำเมา ตลอดจนยาดองสุราที่ไม่ใช่รักษาโรคโดยตรง กระทำหรือผลิตเองหรอใช้คนอื่นกระทำหรือผลิต ต้องสถานโทษหนัก
    6. ผู้กล่าวร้ายบริษัทสี่ ใส่ไคล้อาบัติชั่ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนศึกษามานะ (สิกขามานา) สามเณร และสามเณรี โดยไม่มีมูลด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    7. ผู้ยกตนข่มท่าน ติเตียนนินทาภิกษุอื่น ยกย่องตนเองเพื่อลาภด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    8. ผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่มีมุทิตาจิต ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อผู้ยากจน ขอทานกลับขับไล่ไสส่ง กระทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    9. ผู้มุทะลุฉุนฉียว ตลอดจนก่อการวิวาท ใช้มีด ใช้ไม้ ใช้มือทุบตีภิกษุอื่น กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    10. ผู้ประทุษร้ายต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
    ครุกาบัติ 10 ข้อนี้ผู้ใดล่วงละเมิดไม่ได้ถือว่าเป็นปาราชิก

    ลหุกาบัติ 48

    1. ผู้ไม่เคารพ ผู้มีอาวุโส ชั้นอาจารย์ของตน
    2. ผู้ดื่ม สุรา เมรัย
    3. ผู้บริโภค โภชนาหารปลาและเนื้อ
    4. ผู้บริโภคผักมีกลิ่นแรงฉุน ให้โทษเกิดราคะ 5 ชนิด คือ 1. หอม
    2. กระเทียม 3. กุไฉ 4. หลักเกี๋ย 5. เฮงกื่อ
    5. ผู้ไม่ตักเตือน ผู้ต้องอาบัติให้แสดงอาบัติ
    6. ผู้ไม่บริจาค สังฆทานแก่ธรรมกถึก
    7. ผู้ไม่ไปฟังการสอนธรรม
    8. ผู้คัดค้าน - พระพุทธศาสนาในมหายานนิกาย
    9. ผู้ไม่ช่วยเหลือ - คนป่วย
    10. ผู้เก็บอาวุธ - สำหรับฆ่ามนุษย์หรือสัตว์ไว้ในครอบครอง
    11. ผู้เป็นทูตสื่อสารในทางการเมือง
    12. ผู้ค้า - มนุษย์ไปเป็นทาส ขายสัตว์ไปให้เขาฆ่าหรือใช้งาน
    13. ผู้พูดนินทาใส่ร้ายผู้อื่น
    14. ผู้วางเพลิงเผ่าป่า
    15. ผู้พูดบิดเบือนข้อความพระธรรมให้เสื่อมเสีย
    16. ผู้พูดอุบายเพื่อประโยชน์ตน
    17. ผู้ประพฤติข่มขี่บังคับเขาให้ทานวัตถุ
    18. ผู้อวดอ้างตนเป็นอาจารย์เมื่อตนเองยังเขลาอยู่
    19. ผู้พูดกลับกลอกสองลิ้น
    20. ผู้ไม่ช่วยสัตว์ เมื่อเห็นสัตว์นั้นตกอยู่ในภยันตราย
    21. ผู้ผูกพยาบาท คาดแค้น
    22. ผู้ทะนงตัว ไม่ขวนขวายศึกษาธรรม
    23. ผู้เย่อหยิ่ง กระด้างก้าวร้าว
    24. ผู้ไม่ศึกษาพระธรรม
    25. ผู้ไม่ระงับการวาทเมื่อสามารถสงบได้
    26. ผู้ละโมภเห็นแก่ตัว
    27. ผู้น้อมลาภที่เขาถวายสงฆ์อื่นมาเพื่อตน
    28. ผู้น้อมลาภ ที่เขาจะถวายสงฆ์ไปตามชอบใจ
    29. ผู้ทำเสน่ห์ยาแฝดฤทธิ์เวท ให้คนคลั่งไคล้
    30. ผู้ชักสื่อ ให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน
    31. ผู้ไม่ช่วยเหลือ ไถ่ค่าตัวคนให้พ้นจากเป็นทาสเมื่อสามารถ
    32. ผู้ซื้อขาย อาวุธสำหรับฆ่ามนุษย์และสัตว์
    33. ผู้ไปดู กระบวนทัพมหรสพ และฟังขับร้อง
    34. ผู้ไม่มีขันติ อดทนสมาทานต่อศีล
    35. ผู้ปราศจากกตัญญูต่อบิดา มารดา อุปัชฌาอาจารย์
    36. ผู้ปราศจากสัตย์ต่อคำปฏิญาณ จะตั้งอยู่ในพรหมจรรย์
    37. ผู้ปฏิบัติธุดงควัตรในถิ่นที่มีภยันตราย
    38. ผู้ไม่มีคารวะ ไม่รู้จักต่ำสูง
    39. ผู้ไม่มีกุศลจิต ไม่สร้างบุญสร้างกุศล ทำทาน
    40. ผู้มีฉันทาคติ ลำเอียงการให้บรรพชาและอุปสมบท
    41. ผู้เป็นอาจารย์สอนด้วยการเห็นแก่ลาภ
    42. ผู้กระทำสังฆกรรมแก่ผู้มีมิจฉามรรยา
    43. ผู้เจตนา ฝ่าฝืนวินัย
    44. ผู้ไม่เคารพ สมุดพระธรรมคัมภีร์
    45. ผู้ไม่สงเคราะห์โปรดเวไนยสัตว์
    46. ผู้ยืนหรือนั่งที่ต่ำแสดงธรรม
    47. ผู้ยอมจำนนต่ออำนาจธรรมโรธี (อำนาจที่ผิดธรรม)
    48. ผู้ล่วงละเมิดธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา

    ที่มา
    http://www.thai-folksy.com/ELearning/Religion/13-03-Buthda.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มกราคม 2019
  2. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    58 ข้อ ก็เพียงพอสำหรับ อัศวิน

    ผู้หมายพุ่งรบกับ กิเลส

    และยังกิจของตนให้ลุล่วง
     
  3. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    จะว่าไปก็มีอยู่ข้อเดียวที่พึงยึดถือ กล่าวคือ...

    การประกอบการใดพึงเป็นไปด้วยกุศลในทุกเบื้อง ที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง และเบียดเบียนผู้อื่น

    เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอแล้ว สำหรับควบคุมในกฏใดๆ ของการดำเนินชีวิต และสร้างสมความเป็นหน่อเนื้อแห่งพุทธาร์งกุล ในเบื้องต้น......
     
  4. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    ผุ้มีเครื่องหมายแห่งพุทธบุตร เป็นหน่อเนื้อแห่งโพธิฯทายาท จักมี อุปายะวิธี ในการโปรด แสดง และโวหารที่จำแนกไปจาก หยาบ กลาง ไปจนละเอียด ด้วย
    มหาปัญญา
    มหากรุณา
    มหาอุปายะ คือธรรมลักษณะแห่งพระโพธิสัตว์
    อุปายะ คืออุบายธรรม และอุบายธรรม ไม่ใช่มายาภาพ ที่หาค่าไม่ได้ หากแต่ตรงกันข้าม อุบายธรรม คือความจริงในกรอบหนึ่ง เรียกว่า ความจริงสมมุติ เราวัดคุณค่ากันตรงที่การใช้ ทำให้บรรลุเป้าหมาย อุบายธรรมกับสัจธรรม ไม่อาจแยกขาดจากกันเป็นสองส่วน

    ไม่มีอุบาย ก็แปลว่า ไม่มีการใช้คำสอน เมื่อไม่มีการใช้คำสอน ผลลัพท์ก็ไม่ปรากฏ เมื่อผลลัพท์ไม่ปรากฏ ผู้คนก็ไม่รู้ว่าอะไรคือสัจธรรม เมื่อไม่รู้ว่าอะไรคือสัจธรรม อุบายธรรมก็ไม่ปรากฏ มันเป็นลูกโซ่ ที่ต่อเนื่อง เพราะอุบายธรรมก็ต้องอาศัยสัจธรรม และการมีอยู่ของสัจธรรม ก็ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของอุบายธรรม การมี"ธรรม"โดยไม่ผ่านรูป มันเป็นเรื่องจินตนาการ สุดท้ายก็ต้องอาศัย รูปแบบบางอย่างในการอธิบายธรรมอยู่ดี ถ้าไม่มีรูป เราก็ไม่มีทางที่จะรู้จักธรรมด้วยซ้ำไป

    ดังนั้น ธรรมสมมุติกับธรรมวิมุติมันจึงอิงอาศัยกัน ซึ่งผู้ที่มองทะลุ ข้ามผ่าน ท่ามกลางได้ ก็คือผู้มองปฎิจจสมุปบาท หรือธรรมตถตา...

    ทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อเวลารับฟังจึงควรพิจารณา เป็นคำ เป็นประโยค หรือ ย้อนประโยค เพื่อไล่เรียง ความหนาแน่นของที่มานั้น ว่ารวมสิ่งใดอยู่ เทียบเคียงเหล่าใด มีที่มาเป็นฉันใด มีที่ไปอย่างไร ตั้งอยู่หรือไม่ ดับไปด้วยปัจจัยใด ในแต่ละห้วง หรือช่วงในขณะนั้นเป็นต้น.....
     
  5. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    จริงอยู่ ศีลที่ยกมาเป็นทางฝั่งมหายาน แต่จะสำคัญอย่างไรในเมื่อ ศีลนั้นไม่ใช่เครื่องยึด แต่เป็นองค์ประกอบในส่วนหนึ่งที่เป็นเครื่องรั้ง ให้ห่างจากอกุศล ภายนอก และภายใน

    ซึ่งทั้งนี้ส่งผลเป็นอย่างดี ต่อการขัดเกลาความหยาบของอุปนิสัยในชั้นต้น ส่งผลต่อกุศลจิตภายในช่วงท่ามกลาง และยังผลให้เจริญงอกงามทั้งความสงบภายนอก เยือกเย็นภายในเป็นที่สุด

    องค์ของศีลนี้ ยิ่งยึดแน่น หลักก็ยิ่งแน่นตามไป หากแต่พึงควบคู่ด้วยกำลังใจ ตามระดับที่พึงมี ได้ตามกำลังที่พึงรักษา

    ด้วยประการฉะนี้ การอยู่ในสมณะเพศ จึงเป็นเครื่องชี้แจงว่า เหมาะควร แก่อนุสัยของผู้มีปรารถนาใหญ่ ด้วยเพศสภาพ เหมาะแก่การบำเพ็ญตนอยู่อย่างนั้น

    แต่อย่ากังวล เรื่องการมีศีลเป็นเครื่องยึดถือ นั้นมีแต่ตามกำลังใจของตน หากแต่ในชั้นถัดๆ ไป ทุกอย่างจะง่ายเมื่อด้วยว่า ได้สะสม ประกอบตน ในอยู่ในองค์ศีลไว้เป็นอย่างดีแล้ว

    เท่านี้ ก็คงเพียงพอต่อการ กล่าวถึงเรื่องศีล ของอัศวิน

    เจริญในธรรม เจริญในเมตตา เจริญในความเป็นผู้มีกำลังใจใหญ่อยู่เสมอ เมื่อไรพร่อง ให้ย้อนดูว่า สิ่งนี้ติดขัดด้วยประการใด แบบนี้น่ะ

    สู้ๆ อัศวินทั้งหลาย....
     
  6. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    อัพเดท! !

    เมื้อสิ้นบทของศีลแล้วฉันใด มีความตั้งใจแล้วว่าจะมีความปรารถนาในการบำเพ็ญทางนั้น ก็เริ่มมีบททดสอบในองค์ของศีล และความเศร้าหมองของจิตใจ เริ่มจากภายนอก สู่ภายใน เป็นปกติ ซึ่งการทดสอบทั้งหลายหากดำรงสติอยู่อย่างมั่นคง จะรู้ได้ว่ากำลังสอบอยู่ในห้วงช่วงขณะนั้น ซึ่งจะมีความหลากหลายในต่างวาระ และรูปแบบ เป็นไปจากเบา ถึงหนัก อีกทั้งจากรู้ตัว ไปจนถึงไม่รู้ตัว ด้วยหลายปัจจัยที่ตัวอัศวินค่อนข้างอ่อนไหว ดังเราจะยกตัวอย่างจากกรณีตัวอย่างเป็นกรณี ดังนี้

    - โลภ 1. (ภายนอก) ท่านจะเจอสิ่งมีค่าที่สามารถ หยิบฉวยได้ในขณะนั้น อาจเป็นอะไรก็ตามที่ปรากฏ ค่อนข้างบ่อย โดยการพบเจอ เจตนาขณะนั้นจะกำหนดว่า เป็นอย่างไร และการกระทำ จะส่งผลต่อไป ถ้าผ่านจากเบื้องต้นนี้แล้ว โอกาสจะเกิดขึ้นอีก ก็จะไม่บ่อย หรือแทบไม่มีเลยเป็นต้น
    2. (ภายใน) ในขณะที่ท่านลำบากที่สุด มักมีคนแปลกหน้ามาขอสิ่งสุดท้ายที่ท่านมีนั้น ดังเช่น ครั้งหนึ่ง มีเงินทั้งตัวเหลือ 9 บาท มีชายแปลกหน้า ค่อนข้างมีอายุ มาขอแล้วบอกว่ามีความจำเป็นมาก เมื่อได้รับสิ่งที่เขาขอ เขาก็จะยิ้มอย่างยินดี ในช่วงที่เราไม่สนใจ เมื่อย้อนนึกขึ้นได้ เขาเหล่านั้นมักจะหายไปจากตรงนั้นแล้ว

    - โกรธ 1. (ภายนอก) เมื่อการดำรงชีวิตทั่วไปนั้น ในระหว่างจะมีปัจจัยยั่วยุ ให้รู้สึกไม่ชอบเกิดขึ้นบ่อยเป็นปกติ จนรู้สึกชิน แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีสติดี จะสังเกตุได้ว่าที่จริงแค่ชั่วหนึ่งลมหายใจสำหรับโกรธนั้น ก็มากไปแล้ว ให้ช่างมันอย่างเดียว ไม่ช้าก็เข้าใจเองว่า ของหมูๆ ทำให้ท่านโกรธไม่ได้
    2. (ภายใน) ส่วนนี้ มักเกิดขึ้นตอนกรรมฐาน หรือ หลับ ซึ่งเป็นช่วงของสติ และความนึกคิดเบาบาง เท่าที่สัมผัสมามักมีอะไรๆ ที่ในเวลาปกติ ตัวเราไม่ค่อยยินดีนัก อาจเป็นคน เป็นสัตว์ หรืออะไรก็ตาม ล้วนจะมาข่มขู่ ยัวยุ ท้าทาย ดังเช่น ครั้งหนึ่ง มีชายที่เรารู้จัก พกอาวุธเพื่อท้าทายตัวเรา และเราก็จะมีอาวุธ เพื่อตอบโต้ ในนาทีนั้น ถ้ายอมเจ็บตัว ก็จะผ่านไป แต่ถ้าไม่ หลังจากนั้น ก็จะมีบทคล้ายๆ กันเกิดขึ้น ( เจ็บจริงๆ แต่ไม่ตาย ) ถ้าผ่านแล้ว นานๆ ถึงจะมีเวียนกลับมาอีกครั้งนึง เท่านั้น

    - หลง 1.(ภายนอก) ไม่ว่า จะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส อะไรก็ตามที่ชอบเป็นพิเศษ (ปล.เน้นว่าแพ้ทาง)สิ่งนั้นจะพบเจอบ่อย โดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งจะมีเหตุให้ต้องตัดสินใจขณะนั้นว่า ต้องทำอย่างไร ตามใจหรือขัดใจอยู่แบบนี้ เมื่อมองเห็นว่าเป็นธรรมดา ของความคิด ความอยาก ยังใงก็ได้ ไม่สนใจ ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก หรืออาจกลับมา นานๆสักครั้ง
    2. (ภายใน) ช่วงของความหลง จะฝันบ่อย จะมีนิมิตบ่อย ว่าด้วยเรื่องของชอบ สิ่งที่อยาก มาล่อลวงอยู่ ขณะใดๆนั้นก็ตาม หากปฏิเสธ และมองเป็นเรื่องปกติได้ ซึ่งจะใช้เวลาเท่าไหร่นั้นไม่แน่นอน อยู่ที่กำลังใจ

    - ชาติ (บทรวม) ความไม่พึงพอใจ ความเห็นว่าด้อย ความเห็นว่ามีมาก ความขาดๆ เกินๆ จะมีแก่ผู้มีปรารถนา เป็นปกติ ซึ่งมีเพียงกำลังใจ และความตั้งใจแบบที่สุด ถึงจะดำเนินไปในบทของความลำบากในชีวิตนั้น ในห้วงนี้ จะมีเหตุให้เจริญ ศีล พรหมวิหาร ฯ เป็นต้น ซึ่งค่อนข้างดีให้ผลดี หากเข้าใจ ในความเป็นปกตินี้ ของไตรลักษณ์

    - ชรา (บทรวม) ความไม่ได้ดังใจจะมีขึ้น ความไม่สบายมีขึ้น ความเปลี่ยนแปลงมีขึ้น สิ่งเหล่านี้ จะสังเกตุได้จากตัวเอง แม้เปลี่ยนเล็กน้อย ความที่ร่างกายไม่เป็นปกติ จะเกิดขึ้นให้เห็น ให้พิจารณาได้ง่าย เหตุให้เจริญ โพชงค์ สังโยชน์ ฯ เป็นต้น นี่ก็ปกติ ของไตรลักษณ์

    - มรณะ (บทรวม) ความตายจะพึงมีแก่ท่านบ่อย ทั้งตายจริง ตายปลอม ว่าอย่างนี้เพราะ มีบทให้ต้องสละชีวิตเป็นทานอยู่ ซึ่งกำลังใจตรงนี้ใช้มาก และเกิดขึ้นบ่อย อยู่ที่ประมาณ 3-6 เดือนครั้ง เมื่อ สังโยชน์เบื้องต้นขาดสมบูรณ์ ก็ไม่เกิดขึ้นอีก ยกเว้น การทำทานใหญ่ แลเป็นเหตุให้เจริญ ปฏิจจฯ ได้ค่อนข้างดี อีกส่วนนึง คนรอบข้างมักตายจากไปก่อนเป็นเรื่องปกติ มีให้เห็นให้รู้สึก อยู่เสมอ

    ที่กล่าวมาทั้งหมด ก็ใช่ว่าจะเป็นบทบรรทัดฐาน หรือแนวทางบังคับต้องเกิด ต้องเป็น แต่เป็นเพียงข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาจเกิดขึ้นหรือไม่ หรือต่างออกไป ขึ้นอยู่กับจิตใจ กำลังใจล้วนๆ ในขณะใด ขณะหนึ่ง ซึ่งไม่มีทางรู้ได้ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นล้วนเป็นเรื่องดี ขอเพียงอย่าสั่นคลอนกำลังใจ ด้วยความคิดก็พอ มีสติอยู่ ระลึกอยู่กับ ไตรสรณะคม จึงดี

    ตั้งใจโปรดสัตว์โลก ชีวิตหนึ่งก็ไม่ได้ทรงคุณค่าอะไรมาก อยู่ก็ตั้งใจ จะเป็นจะตายช่างร่างกาย ทรงความดีอย่างเข้มข้นไว้ก็พอ

    สำหรับวันนี้เท่านี้ก่อน....

    เจริญในธรรมฯ อัศวิน ทุกท่าน... สวัสดี
     
  7. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ทำไมท่านเทศเก่งจังครับทุกวันนี้เป็นไงบ้างครับหลังๆนี้รู้สึกจะพิมพ์ยาวขึ้นนะครับ
     
  8. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    ตอบช้าคงไม่ว่ากันเนอะ

    อย่าใช้คำว่าเทศน์เลยครับ รู้สึกอย่างนี้ก็ตอบแบบนี้ เคยเจอแบบนี้ก็บอกต่อแบบนี้ ก็เป็นตามที่กล่าวมาครับ ไม่มีอะไรพิเศษ หรือแจ้งในอะไรเป็นพิเศษครับ ย่อสั้นๆ ได้เท่าที่โพสน์ครับ มีอีก แต่ยังไม่เหมาะสำหรับตอนนี้

    ส่วนทุกวันนี้ เป็นอย่างไรนั้น ก็แยกตอบเป็นสองส่วนเนอะ
    ส่วนแรก เรื่องของการปฏิบัติก็ดี จิตก็ดี ใจก็ดี ก็ดำเนินไปแบบที่ควรจะเป็น เหมือนคุณทอนเงินแหละครับ แค่เป็นในอีกรูปแบบนึง ที่กลับตัวไม่ได้ ไปต่อไม่ถึง ขอเรียกแบบนี้แล้วกัน หากแต่คุณทอนเงินยังดำเนินอยู่ในทางนี้อย่างตั้งใจ คงพอเข้าใจที่ผมสื่อเนอะ อธิบายยิบย่อยดูไม่เหมาะคงพอเข้าใจ
    ส่วนสอง เรื่องของอารมณ์ ก็เป็นแบบมาๆหายๆ แต่อยู่ในอาการที่พึงรู้ได้ จะไม่บอกว่า ประกอบขึ้น หรือวางไปนะครับ แต่ทั้งหลายจะนำพาสู่อาการคลายออก ในเบื้องต้น ทันไม่ทันก็ตามวาระเนอะ

    มาส่วนสุดท้ายที่พิมพ์ยาว ก็นะ คิดว่าส่งต่อเมล็ดพันธุ์ของพุทธะวิสัย ตามแต่ความเหมาะสมหน่ะครับ คุณทอนเงินอ่านแล้วคงได้อะไรบ้างเนอะ

    ก็รักษาความตั้งใจแต่ต้นไว้นะครับ ถอดถอนไปผมคงเสียใจ กว่าจะมาถึงแต่ละชาติ เอิ้กๆ สู้ๆ ครับ

    เจริญงอกงาม เป็นมะม่วงใหญ่ ผลิดอกออกผลแก่ปวงชน ผู้พบพาน

    เจริญในธรรม ....
     
  9. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    วันนี้ อัพเดท! สักเล็กน้อย

    ว่าด้วยเรื่ององค์ความรู้ ความเข้าใจ และการรับถ่ายทอด ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นจะเป็นดั่งนี้ ว่า เมื่อแรกเริ่มของการตั้งมั่นในทางแต่ยังง่อนแง่นอยู่นั้น จักได้เดินในทางที่ลำบากเสียมาก ครั้นเมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ยังมีผู้แนะแนวทางอยู่บ้าง ไม่แนะบ้าง ขึ้นอยู่กับความกล้าแข็งของจิตใจเป็นปฐมเหตุ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ขณะนั้น ว่าเข้าใจหรือไม่ อย่างไร

    ครั้นดำเนินต่อไป มีความมั่นแล้วว่า จริงแล้ว แน่แท้แล้ว ประกาศแล้ว ดำรงกิจตามประเพณีแล้ว จึ่ง ได้สะสมทรัพย์
    สะสมกำลัง อันเป็นเครื่องหมายที่จะติดตัวต่อไป แต่ทางก็สบายขึ้นบ้าง พักได้บ้าง แต่ไม่เกินจะแบกไว้ มีผู้แนะ ผู้นำ มีไอดอล ให้ได้ใช้เป็นเครื่องพยุง ความเข้าใจดีขึ้น ฐานทางจิตใจ ดำรงแล้ว ตั้งแล้ว ก็ เพิ่มจากขั้นต้น อีกเท่านึง

    แต่เบื้องปลาย ตรงนี้ยังไม่แน่นัก อาจสบาย แต่ก็ยังมีผู้เปลื้องให้ แตะกระนั้น ก็จะเป็นในลำดับอื่น ที่เหนือความปกติ อาจจะเบื้องสูงตรง หรือเบื้อง 4 ทิศ ด้านข้าง แล้วแต่ความเอื้อ ของกาล เวลา ทักษะ และวาสนา แต่อย่างกังวลไป ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติอย่างนั้น เป็นปกติ

    ด้วยประการฉะนี้ ความรู้อันยิ่งทั้งหลาย หากแต่พึงประกอบขึ้นด้วย ความมุ่งหมายว่า อย่างนั้น อย่างนี้ ต้องมาจากท่านผู้นั้น ตำราเล่มนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย

    มุ่งรักษา สิ่งที่พึงทำ ของปัจจุบัน อุปมาดั่งว่า หมั่นเช็ดรักษา หม้อหุงข้าวไว้ ไม่ให้ดำ ไม่ให้ชำรุดอยู่เสมอ เพื่อพร้อมจะหุงข้าวใหม่ ที่สุกร้อน และหอม ไม่ว่าจะกินเอง หรือแจกจ่ายไปย่อมประเสริฐ

    ความรู้ ความสามารถทั้งสิ้น จะประจักษ์แก่ผู้ดำรงตน ตามเหตุปัจจัย ที่ประกอบไว้ดีแล้ว เมื่อนั้น จะมีผู้มาถ่ายทอดแก่ หน่อเนื้อฯ ตาม โอกาส และเหตุปัจจัย

    ทั้งสิ้นก็สรุป ได้ด้วย ความสั้น แต่ยาว ด้วยประการนี้แล..
     

แชร์หน้านี้

Loading...