รอยพระพุทธบาทที่...วัดเขาดีสลักอ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 8 สิงหาคม 2008.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    รอยพระพุทธบาท ถือเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สำคัญประการหนึ่งของชาวพุทธ มีคติสร้างขึ้นในประเทศอินเดียตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล เป็นปูชนียวัตถุที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือกราบไหว้บูชาด้วยความศรัทธามาเป็นเวลานาน
    คติความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาทนี้ แพร่เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี และได้รับความนิยม เคารพนับถือสืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดังปรากฏรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ตามที่ต่างๆ ของประเทศไทยหลายแห่ง อาทิเช่น รอยพระพุทธบาทที่สระมรกต อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี รอยพระพุทธบาทวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และรอยพระพุทธบาทวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

    รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก ตั้งอยู่บนเขาดีสลัก ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑๒ กิโลเมตร รอยพระพุทธบาทองค์นี้ค้นพบและเผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔ โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรม และอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีนายมนัส โอภากุล นักวิชการท้องถิ่น เป็นแกนนำ <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ลักษณะทางศิลปกรรม ของ รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก เป็นรอยพระพุทธบาทเดี่ยวสลักลงบนแผ่นดินทรายสีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖๖ เซนติเมตร ยาว ๑๔๒ เซนติเมตร เป็นรอยพระพุทธบาทที่สลักเป็นรูปนูนต่ำ ทำเป็นลายรูปกลีบบัวโดยรอยพระบาท ปลายนิ้วพระบาทยาวไม่เสมอกัน นิ้วพระบาทข้อที่สองทำเป็นลายก้านขดหรือใบไม้ม้วน ซึ่งเป็นลายที่นิยมในสมัยทวารวดี บริเวณกลางฝ่าพระบาททำเป็นรูปธรรมจักรขนาดเล็ก รายล้อมด้วยภาพสลักรูปมงคล ๑๐๘ ประการ อยู่ในกรอบวงกลม ซึ่งแตกต่างจากรอยพระพุทธบาททั่วไปที่มักจะสลักลายมงคล ๑๐๘ ประการไว้ในกรอบสี่เหลี่ยม
    การจัดเรียงรูปมงคลในส่วนบนจะจัดเรียงเป็นแถวแถวละ ๘ วง แต่ในส่วนล่างมีปัญหาที่ความโค้งและสอบแคบของส้นพระบาท จึงไม่สามารถจัดเรียงรูปมงคลให้เป็นแถวได้ ลักษณะที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งของรอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลักนี้ก็คือ มีการจัดลำดับภูมิสูงต่ำของรูปมงคล ๑๐๘ ประการตามคติไตรภูมิ และจักรวาลในพุทธศาสนา โดยสามารถแบ่งรูปมงคลออกได้เป็น ๓ ส่วนคือ
    ๑.รูปสัญลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับภพภูมิและจักรวาล จัดเรียงอยู่ส่วนบนสุดถัดจากข้อพระบาทข้อที่ ๒ ลงมา ได้แก่ พรหมโลก ทำเป็นภาพเทวดากำลังอยู่ในท่าเหาะ ๒ แถวแรก จำนวน ๑๖ องค์ เทวโลก จัดเรียงอยู่ในแถวที่ ๓ ทำเป็นภาพเทวดาอยู่ในท่านั่งแบบต่างๆ ได้แก่ ท่านั่งชันเข่าข้างเดียวหรือมหาราชลีลาสนะนั่งขัดสมาธิ และอยู่ในท่าคล้ายกำลังเหาะ มหาสมุทรทั้งสี่อยู่ถัดลงมาในแถวที่ ๔ ทำเป็นสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมอยู่ภายในกรอบวงกลม
    นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์รูปธรรมจักร พระอาทิตย์ พระจันทร์ อยู่ในลำดับแถวถัดลงมา
    ๒.เครื่องประกอบยศของพระเจ้าจักรพรรดิ จัดเรียงอยู่บริเวณกลางฝ่าพระบาทลงมา ได้แก่ พระยาช้าง อุโบสถ เป็นช้างแก้ว พระยาม้า พลาหก เป็นม้าแก้ว พระมงกุฎ ถ้วยภาชนะ กลองบัณเฑาะว์ พระมหาสังข์ คันฉ่อง ขอช้าง เป็นต้น
    ๓.สัญลักษณ์ที่เป็นโชคลาภและเป็นรูปสัตว์มงคล จัดเรียงอยู่บริเวณส่วนกลางถึงส่วนล่างของส้นพระบาท ได้แก่ สำเภาทอง พญาครุฑ พญาไก่แจ้ พญานาค ปลาคู่ พญากวางทอง พญาหงส์ พญาราชสีห์ ดอกไม้สี่กลีบ พญาโค และโคแม่ลูกอ่อน เป็นต้น
    นอกจากนี้ยังมีรูปสัญลักษณ์มงคลอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแปลความได้ เนื่องจากสัญลักษณ์มงคลบางอย่างที่ไม่สามารถแปลความได้ เนื่องจากสัญลักษณ์มงคลบางอย่างเป็นไปตามความนิยมในแต่ละช่วงสมัย ประกอบกับภาพเลือนลางมาก จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรม สามารถกำหนดได้ว่า รอยพระพุทธบาทที่วัดเขาดีสลักนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทในสมัยทวารวดีตอนปลาย มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
    การปรับปรุงและพัฒนาวัดเขาดีสลัก ได้เริ่มดำเนินการใน พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีการก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างบันไดนาค ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และจัดสร้างระฆังเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา จำนวน ๗๒ ใบ
    ขณะเดียวกันยังมีการจัดสร้าง งานประติมากรรมนูนสูง เรื่องพุทธประวัติ ตั้งอยู่ที่บริเวณเชิงเขา ของวัดเขาดีสลักนี้ เป็นกิจกรรมตามโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดเขาดีสลัก ซึ่งใช้งบประมาณจากโครงการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๕๔๗ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้า โดยนำเสนอผ่านงานแกะสลักหิน จำนวน ๑๘ ภาพ ภาพสลักพุทธประวัติชุดนี้ เริ่มต้นเหตุการณ์ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ทวยเทพได้อัญเชิญพระโพธิสัตว์ซึ่งบังเกิดเป็นเทวราชอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตให้ลงมาจุติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ จนจบเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน มีการถวายพระเพลิงและแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำไปประดิษฐานยังสถานที่ต่างๆ
    อย่างไรก็ตามใน วันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ จะมีประกวดพระเครื่อง ณ โรงแรมคุ้มสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี และการทอดกฐินสามัคคี ณ วัดเขาดีสลัก โดยมี ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
    รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานดำเนินงาน พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ประธานอำนวยการ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย สมาคมพระเครื่องสุพรรณบุรี และหนังสือพิมพ์ข่าวสด
    ส่วนวัตถุประสงค์การจัดงานนั้น พล.ต.ต.คำรณวิทย์ บอกว่า ๑.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา และการอนุรักษ์ พระบูชา พระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล ๒.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี โดยเฉพาะที่วัดเขาดีสลัก อ.อู่ทอง ซึ่งมีทัศนนียภาพอันงดงาม ทั้งมีความเป็นมาทางด้านโบราณคดีอันน่าศึกษาในความเป็นมาของท้องถิ่น ๓.เพื่อนำรายได้ใช้จ่ายในการดำเนินการสร้างมณฑป (อาศรม) และพระพุทธรูปสลักหิน ประดิษฐาน ณ วัดเขาดีสลัก ๔.เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้แก่สมาคมพระเครื่องสุพรรณบุรี และ ๕.เพื่อนำรายได้ใช้จ่ายในกิจการกุศลอื่นๆ

    "ไตรเทพ ไกรงู"






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,447
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,510
    ขอบคุณสำหรับสาระความรู้ที่ได้รับครับ
     
  3. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
    ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
    แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"


    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ



    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
  4. หนึ่ง898989

    หนึ่ง898989 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +295
    ภาพ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...