พุทธวิธีกำหนดนิมิตในการเจริญอธิจิต | สมุคคสูตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 9 มกราคม 2025 at 10:52.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พุทธวิธีกำหนดนิมิตในการเจริญอธิจิต | สมุคคสูตร




    *************************
    ขอบคุณ
    มูลนิธิอุทยานธรรม Uttayarndham Foundation

    https://www.youtube.com/@Uttayarndham
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    นิมิตตสูตร ว่าด้วยนิมิต อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    https://youtu.be/n2YlhwSJass



    https://web.facebook.com/TipitakaStudies

    (๑) ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

    การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความ


    อุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น

    (๒) ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน

    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหนิมิต




    อ้างอิง:
    (๑) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๓๐๖ หน้า ๑๑๓
    (๒) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๘๖๘ หน้า ๒๙๘




    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    สมุคคสูตร


    ทรงแสดงว่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ พึงใส่ใจนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) ๓ อย่าง โดยกาลอันสมควร ได้แก่

    สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
    ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
    อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).

    ถ้าใส่ใจแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว จิตก็จะน้อมไปเพื่อความเกียจคร้านได้,
    ถ้าใส่ใจแต่ปัคคาหนิมิตอย่างเดียว จิตก็น้อมไปเพื่อความฟุ้งสร้านได้.
    ถ้าใส่ใจแต่อุเบกขานิมิตอย่างเดียว จิตก็ไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อสิ้นอาสวะได้ .


    ต่อเมื่อใส่ใจนิมิตทั้งสามโดยกาลอันสมควร จิตจึงอ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองที่หลอมทองเงิน ย่อมสูบ ( เป่าลม ) โดยกาลอันสมควร, พรมน้ำโดยกาลอันสมควร, วางเฉยโดยกาลอันสมควร.
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...