เรื่องเด่น นักบวชกับการหยิบสตางค์..ใช้สตางค์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 26 เมษายน 2018.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,126
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    31206342_2210542425840007_1844186638243069952_n.jpg






    นักบวชทั้งหลายต้องยอมละเมิดวินัยข้อหนึ่ง นั่นคือหยิบสตางค์..ใช้สตางค์


    "พระ"...นี่เป็นบุคคลตัวอย่าง เพราะว่าในฐานะที่รับกระแสพระสัทธรรมเทศนา พระรับพระพุทธฎีกาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว ถ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสอะไรออกมา พระต้องปฏิบัติตามนั้น เพราะว่าพระนี่ถือว่าเป็นทายาทขององค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาเอง รับมาแล้วต้องทำ ไม่ใช่มีหน้าที่ มาแนะนำให้ชาวบ้านเขาทำเพื่อความสุขของตัว ได้เงินได้ทองได้ของมาแล้วก็สะสมเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี ถ้านักบวชที่ทำตนแบบนี้ละก็ ท่านทั้งหลายโปรดทราบว่า "เป็นนักบวชกาลีที่ทำลายความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า" ท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน พูดกันอย่างภาษาไทยก็ว่า.."ไม่ควรขุน หรือไม่ควรให้กินเลย"

    ] พระศาสนาเปรียบเหมือนพื้นที่ บุคคลในพระศาสนาเปรียบเหมือนวัตถุ ที่สร้างพื้นที่ให้สกปรกหรือว่าสะอาด ถ้าบุคคลที่เข้ามาบวชในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ไม่ปฏิบัติตนให้สมควรตามที่สมเด็จพระโลกนาถทรงสั่งแล้ว ก็ทรงสอนว่า.."อย่างนี้เป็นกาลี ไม่ควรเลี้ยง" นี่ความจริงความเห็นของสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ชอบใจมาก มองดูพระสังฆราชมาหลายองค์แล้ว แต่ก็ไม่ได้เกลียดเลยทุกองค์แหละ ชอบท่านเหมือนกัน แต่ว่าองค์นี้ชอบใจมาก เพราะถูกใจที่ไม่เข้ากับบุคคลจัญไร ที่หวังหาความสุขด้วยการเอาเปรียบชาวบ้าน

    มาพูดถึงว่าพระจะให้ทาน ความจริงพระให้ทานได้สะดวก เพราะพระไม่มีลูก พระไม่มีเมีย ไม่มีภาระมาก แล้วก็ความเป็นอยู่ของพระก็สะดวกเพราะว่าชาวบ้านสงเคราะห์อนุเคราะห์ ความจำเป็นในการครองชีพมีอยู่ เดี๋ยวนี้ศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมครู


    "นักบวชทั้งหลายต้องยอมละเมิดวินัยข้อหนึ่ง นั่นคือหยิบสตางค์...ใช้สตางค์"

    เรื่องนี้ก็เหมือนกัน "พระไม่ควรจะมานั่งโกหกชาวบ้าน" เวลามานั่งต่อหน้าชาวบ้าน ชาวบ้านเขาถวายสตางค์ก็บอกว่า "ฉันไม่หยิบเงิน ถ้าไม่หยิบเงินก็อย่ารับไว้เลยนะ ถ้ารับไปมันก็เหมือนกับหยิบเงิน" เพราะอะไร เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า

    "รับเงินเองก็ดี ให้คนอื่นรับแทนก็ดี หรือว่าให้คนอื่นรับไว้เพื่อตนก็ดี ตนยังคิดว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินของตน..วัตถุนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ตัวเองเป็นอาบัติปาจิตตีย์"


    แต่เวลานี้มีความจำเป็นเสียแล้วนี่

    "พระไปนั่งรถนั่งเรือเขาก็เก็บสตางค์ เดินไปตามทางถ้าเกิดความหิวเข้า แวะเข้าไปในร้านค้า เวลาจะฉันอะไรเขาก็เอาสตางค์ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่มี ตามความจำเป็น แม้แต่ยาเขาก็เอาสตางค์"

    เป็นอันว่าพระวินัยอันนี้พระทั้งหลายต้องจำทนปล่อยให้เป็นไปตามอัธยาศัย เข้าใจว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คงไม่เพ่งโทษ เพราะก่อนที่พระองค์จะทรงปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงโปรดมีพระเมตตาว่า

    "ในกาลเวลาต่อไป ถ้าวินัยข้อใดที่เราบัญญัติไว้ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย วินัยข้อนั้นให้บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายประชุมกันยกเลิกเสียได้"

    เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องไม่น่าอาย การรับสตางค์ "นักบวชที่ไม่รับสตางค์ ตายแล้วปรากฏว่ามีเงินเป็นล้านเป็นแสนนี่..ขายขี้หน้าเขา

    นี่แหละ และบรรดาท่านทั้งหลาย จงจำไว้ถ้านักบวชจัญไร ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เว้นไว้แต่สิกขาบทข้อนี้ตามความจำเป็น ควรจะเลิกขุนเสียบ้าง จงอย่าใส่บาตรเสียบ้าง ตานี้ถ้าไม่เอาบาตรไปก็จงอย่าใส่ย่ามเสียบ้าง ถ้าไม่ได้ถือย่ามไปก็จงอย่าส่งให้เสียบ้าง ดีไหม ทำไมจึงได้ว่ายังงั้น เพราะว่าการไม่ปฏิบัติตนตามกระแสพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ กลายเป็นทำให้พระศาสนามัวหมอง

    ทีนี้ มาว่ากันถึงพระให้ทานนี่มันเป็นของไม่ยาก เพราะพระเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนพุทธบริษัท เขาเชื่อว่าพระบริสุทธิ์ แต่ว่านักบวชจัญไรที่ไม่บริสุทธิ์นี่ ไม่ใช้คำว่า "พระ"
    ทีนี้ เวลาพระจะให้ทานนี้ไม่ยาก ของที่เหลือกินเหลือใช้ เราทำได้ อาหารที่เขาให้มา เหลืออย่าขายซี เทศน์มาได้ก็อย่าขาย ไปบิณฑบาตมาได้เหลือกินอย่าขาย แจกคนที่มีความทุกข์ ให้เขาได้จัดเป็นทาน พระพุทธเจ้าไม่ทรงห้าม มันเป็นความดี

    ถ้ายิ่งไปกว่านั้นเรียกว่าของที่เหลือกินเหลือใช้ เอาไปสร้างในส่วนที่เป็นสาธารณประโยชน์ มันก็เป็นความดี ก็เงินจำนวนนี้เป็นเงินของชาวบ้านเขาให้มา มันพ้นจากความจำเป็นของเราแล้ว เราก็สนองความดีของชาวบ้าน เงินจำนวนนี้เริ่มในการลงทุน สร้างสถานที่พัก สร้างบ่อน้ำ สร้างศาลา สร้างอะไรต่ออะไรก็ช่าง หรือว่าตั้งเป็นสมาคมในการสงเคราะห์อนุเคราะห์ก็ได้ตามอัธยาศัย เป็นอันว่าทำไปเพื่อสาธารณประโยชน์

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ฉบับที่ ๔๕ สิงหาคม ๒๕๒๗ หน้าที่ ๔๑-๔๓
    คัดลอกโดย Thamma Sukkho


    ******************************************************


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...