เรื่องเด่น วีดีโอ ดีต่อใจ ชวนกันไปบริจาคเลือด

ในห้อง 'ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 6 ตุลาคม 2021.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,004
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
     
  2. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,810
    A.PNG
    คลังโลหิตทั่วประเทศเข้าสู่ “วิกฤติขาดแคลนเลือดสะสม” ส่งผลให้หลายโรงพยาบาล “ต้องเลื่อนทำการผ่าตัด” ที่กำลังกลายเป็นปัญหาครั้งใหญ่ที่สุดประวัติศาสตร์ในรอบหลายสิบปี

    นับแต่ “โควิด-19 ระบาด” ทำให้ “คนไทยตื่นกลัวไม่ออกบ้าน” มีผลกระทบให้ “การบริจาคโลหิตลดลงแต่ความต้องการคงเดิม” ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเลือดทั่วประเทศตามมา


    B.PNG

    วิกฤติขาดเลือดรุนแรงกว่าทุกปี “ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย” ต้องขอ “คนไทยสุขภาพดี” ออกมาช่วยกันบริจาคเลือดเร่งด่วน เพราะไม่อาจจ่ายเลือดให้โรงพยาบาลได้พอกระทบต่อระบบการรักษาผู้ป่วยโรคอื่น ศ.นพ.ดร.อิศรางค์ นุชประยูร ที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ บอกว่า

    ตอนนี้มีผู้บริจาคโลหิตน้อยลงกว่าปกติมาก “โรงพยาบาลทั่วประเทศ” เริ่มขาดแคลนมีไม่เพียงพอต่อใช้ “ผ่าตัดผู้ป่วย หรือรักษาช่วยชีวิตคนไข้โรคเลือด” ที่ต้องใช้ปริมาณมากต่อเนื่องด้วยซ้ำ

    ปัจจัยมาจาก “โควิดระบาดหนัก” ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน “รัฐบาล” ต้องประกาศบังคับใช้ “มาตรการล็อกดาวน์” ตอกย้ำให้หน่วยงานบริษัท ห้างร้าน ยกเลิกจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต “พนักงานหลายองค์กรทำงานที่บ้าน” เพราะอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาด หรือบางส่วนติดเชื้อต้องถูกกักตัวก็มี


    หนำซ้ำ “สถาบันการศึกษาปรับการเรียนการสอนเป็นออนไลน์” กลายเป็นข้อจำกัดในการออกหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตต้องปรับขนาดหน่วยรับบริจาคน้อยลงจาก 200-300 คน เหลือเพียง 50 คน ส่วนการจัดกิจกรรมก็ต้องจัดเล็กลงสอดรับตามมาตรการป้องกันโรคระบาด จนเป็นอุปสรรคให้ได้โลหิตบริจาคลดลง


    C.PNG
    ตั้งแต่เดือน มิ.ย.ถึงบัดนี้พบว่าเดือน ก.ค.การรับบริจาคน้อยลงชัดเจนเหลือ 149,384 ยูนิต ลดลง 15% และเดือน ส.ค. 130,526 ยูนิต ลดลง 25% ถ้าเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปี 2562 มีผู้บริจาค 210,000 ยูนิต

    เหตุนี้จำนวนโลหิตได้รับบริจาคมานี้จึงไม่สอดรับ “ความต้องการเลือดที่โรงพยาบาลทั่วประเทศ” ขอเบิกเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำ 200,000 ยูนิตหรือ 5,000-6,000 ยูนิตต่อวัน แต่จ่ายให้ได้เฉลี่ย 2,300 ยูนิตต่อวัน หรือร้อยละ 28 ดังนั้น... ต้องมีโลหิตสำรองคงคลังเพิ่มอย่างน้อย 3,000 ยูนิตต่อวัน จึงมีพอต่อการใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้


    “เรื่องนี้ไม่ใช่มีผลเฉพาะการผ่าตัดถูกเลื่อนเท่านั้น แต่ยังส่งกระทบยาวถึงผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกวันจำเป็นต้องใช้เลือดผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ทั้งยังมีคนไข้โรคเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลียต้องใช้เลือดตลอดชีวิต...การขาดแคลนเลือดสะสมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตก็ได้” ศ.นพ.ดร.อิศรางค์ ว่า


    ประเด็นต่อมา...“ความกังวลเกี่ยวกับเชื้อโควิดติดต่อทางโลหิต” เรื่องนี้มีผลวิจัยทั่วโลกยืนยันว่า “โควิดไม่สามารถติดต่อทางเลือดได้” อีกทั้งนับแต่ “ประเทศไทย” มีโรคระบาดจนขณะนี้ไม่มีรายงาน “ผู้ติดเชื้อทางโลหิต” เหตุนี้ไม่จำเป็นต้องกักกันหรือเรียกคืนโลหิต กรณีผู้บริจาคโลหิตแจ้งภายหลังบริจาคว่าติดเชื้อ


    แต่มีสิ่งสำคัญ “ต้องขอความร่วมมือผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพด้วยความเป็นจริง” โดยเฉพาะภายใน 7 วันหลังการบริจาคไปแล้วถ้าหากผู้ใดได้รับการวินิจฉัยยืนยันจากแพทย์ว่า “ติดเชื้อโควิด” ผู้บริจาค ญาติหรือโรงพยาบาลที่ทำการรักษาต้องแจ้งหน่วยงานศูนย์รับบริจาคโลหิตทราบทันที


    D.PNG

    เพื่อดำเนินการ “กักตัวเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในคราวนั้น” อันเป็นการสร้างความมั่นใจให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจากโควิดในการควบคุม ดูแลรักษาความสะอาด อุปกรณ์ สถานที่ และสุขอนามัยของผู้มาบริจาคโลหิต และบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความมั่นใจว่าทุกหน่วยงานไม่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อไปได้


    แต่ยอมรับว่าตั้งแต่โควิดระบาดมานี้มีผู้บริจาคโลหิตแล้ว “มีผลยืนยันการติดเชื้อภายหลัง 7 วัน” ที่ได้แจ้งศูนย์บริการโลหิตฯ 100 กว่าราย ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาทจำเป็นต้องระงับเลือดกลุ่มนี้นำมาตรวจหาเชื้อซ้ำอย่างละเอียด ซึ่งก็ยังไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโควิดในเลือดที่บริจาคแต่อย่างใด


    “ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ” ทำหน้าที่จัดหาโลหิตที่มีคุณภาพปลอดภัยสูงสุดจาก “ผู้บริจาค” เพื่อให้เพียงพอนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ จึงต้องคัดกรองสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์เข้มงวด


    ตั้งแต่ตรวจสอบคำตอบแบบสอบถาม ซักถามคุณสมบัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้นหาโรคติดต่อต้องห้ามบริจาค ตรวจวัดความเข้มข้นของเลือดด้วยการใช้หลักทางการแพทย์ประกอบการพิจารณาเป็นสำคัญ

    E.PNG
    ดังนั้นในช่วงโรคระบาดรุนแรงนี้ก็ได้ออกมาตรการคัดกรองแก่ “ผู้ที่เคยป่วย หรือมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโควิด” เช่น ผู้มีความเสี่ยงสูง และมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบงดบริจาคโลหิต 14 วัน ถ้าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด หรือพูดคุยกับผู้ป่วยโควิดโดยไม่ใส่หน้ากากเกิน 5 นาทีงดบริจาคโลหิต 28 วัน

    กรณีติดเชื้อโควิด-19 งดบริจาคโลหิต 28 วัน นับตั้งแต่หายป่วยไม่มีอาการแล้ว...

    ประการต่อมา “ขั้นตอนตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิต” ก็เป็นตามมาตรฐานโลหิตบริจาคทุกยูนิตผ่านกระบวนการตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกแยกเป็น 4 หลอดสี


    คือ “จุกสีเหลือง”...ใช้ตรวจหมู่โลหิต เอ บี โอ, ระบบอาร์เอช “จุกสีแดงหลอดที่ 1”... ตรวจ Antibody ต่อหมู่โลหิต “จุกสีแดงหลอดที่ 2”...ตรวจการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางโลหิต เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ซี เชื้อซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี “จุกสีม่วง”...ตรวจหาสารพันธุกรรมทางชีววิทยาระดับโมเลกุล เรียกว่าตรวจโดยวิธี NAT


    F.PNG
    แต่ละครั้งบริจาคได้ 350-450 ซีซี ขึ้นอยู่ที่น้ำหนักสามารถปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิตมากกว่า 3 ส่วน ช่วยชีวิตมากกว่า 3 ชีวิต
    เช่น “เกล็ดเลือด” นำไปรักษาผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำ โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว...“เม็ดเลือดแดง” รักษาคนไข้โลหิตจางธาลัสซีเมีย ผู้สูญเสียเลือดจากผ่าตัดหัวใจ อุบัติเหตุ ตกเลือดคลอดบุตร ทั้งยังมี “พลาสมา” นำไปรักษาผู้มีอาการช็อกขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต 3 ชนิด ได้แก่ แฟกเตอร์ 8 รักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ อิมมูโนโกลบูลิน (IVIG) รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง อัลบูมิน (Albumin) รักษาไฟไหม้น้ำร้อนลวกและโรคตับ


    เมื่อโลหิตส่วนประกอบโลหิตผ่านกระบวนการทางห้องปฏิบัติการเรียบร้อยแล้วใช้เวลา 1-3 วัน ก็นำจ่ายให้โรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงการขอเบิกใช้โลหิต “ตามวิธีการคำนวณจากปริมาณโลหิตพร้อมจ่ายคงคลังในแต่ละวัน” ถ้ามีการบริจาคมากก็สามารถจัดสรรให้กับโรงพยาบาลได้ตามจำนวนที่ต้องการนั้นได้ครบ


    G.PNG
    หากการบริจาคโลหิตน้อยก็ใช้วิธีเฉลี่ยจัดสรรกระจายให้โรงพยาบาลตามความเหมาะสมจำเป็นเร่งด่วน แต่จะขอความร่วมมือให้เบิกตามจำนวนต้องการใช้จริงในภาวะวิกฤตินั้น สัดส่วนการกระจาย รพ.เขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล คิดเป็นร้อยละ 74.3 รพ.ในส่วนภูมิภาค และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ คิดเป็นร้อยละ 25.7

    การจัดส่งด้วยบริษัทโลจิสติกส์... ขนส่งสาธารณะทั้งรถตู้โดยสาร สายการบิน ที่บรรจุหีบห่อควบคุมอุณหภูมิตามมาตรฐาน Blood cold chain ตลอดระยะเวลาขนส่งจากต้นทางจนถึงปลายทางนี้

    “โรงพยาบาลเบิกโลหิตทุกวัน” ที่ต้องจ่ายตามจำนวนมีในสต๊อกต่อวัน “จนเลือดหมดคลังไม่มีกักตุน” ด้วยเหตุโควิดระบาดทำให้คนบริจาคน้อยแต่ความต้องการเลือดเท่าเดิม รับบริจาคได้เท่าไรต้องใช้หมดเท่านั้นเพราะเราเชื่อว่า “ยังพอหาโลหิตได้” ที่เป็นโชคจังหวะแต่ละวันรับบริจาคได้มากหรือน้อยต่างกันเท่านั้น


    H.PNG

    กรณีมี “เหตุฉุกเฉิน” ต้องจ่ายโลหิตหามาได้นั้นให้ไปก่อน ส่วนโรงพยาบาลขอเบิกปกติคงรอวันถัดไป เพราะเน้นเหตุเร่งด่วนเป็นหลัก ที่มักเกิดเฉพาะในช่วงโลหิตขาดแคลนจริงๆ จึงเรียนตามตรงว่าตอนนี้แต่ละวันการรับบริจาค และการจ่ายโลหิตพอดีเป๊ะๆ ในบางวันก็ขาดแคลน หรือบางวันมีเกินที่เราไม่ต้องการให้เป็นเช่นนี้


    เช่นนี้แล้วการดำเนินงานบริการโลหิตยังเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไป ไม่สามารถหยุดรับบริจาคได้แม้แต่วันเดียวเพราะหากขาดแคลนเลือดติดต่อกันหลายวัน ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ป่วยทั่วประเทศมากมาย ดังแนวคิดที่ว่า “โลหิตเป็นเสมือนยารักษาโรคสำคัญ” ที่มีความจำเป็นต้องการรับบริจาคให้มีใช้ช่วยชีวิตคนทุกวัน...


    ขอวอนผู้มีสุขภาพดีช่วยกัน ร่วมบริจาคโลหิต ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินโรคเลือดทั่วประเทศ.


    I.PNG

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/news/local/2211176
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...