. มีผู้ปฏิบัติหลายคน ปฏิบัติไปนานเข้าชักเขว ไม่ชัดเจน ว่าตนปฏิบัติไปทำไม หรือปฏิบัติไปเพื่ออะไร ดังครั้งหนึ่ง เคยมี ลูกศิษย์กราบเรียน ถามหลวงพ่อท่านว่า " ภาวนามาก็นานพอสมควรแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ มีนิมิตรภายนอก แสงสีต่างๆ เป็นต้น ดังที่ผู้อื่นเขารู้เห็นทางปฏิบัติกันเลย '' หลวงพ่อท่านย้อนถาม สั้นๆ ว่า '' ปฏิบัติแล้ว โกรธ โลภ หลง แกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ ถ้าลดลง ข้าว่าแกใช้ได้ '' ที่มา : พิมพ์จากหนังสือพรหมปัญโญอนุสรณ์
<TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ขออนุโมทนา เห็นจริงด้วยตนเอง ใจเย็นลง มีเหตุ มีผล มากขึ้น </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on"> </TD></TR></TBODY></TABLE>
จริงๆ ด้วยครับ ความจริงเราไม่ต้องไปหวังว่าจะต้องได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้หรอกครับ อย่างที่บอก "นิมิตภายนอก" เราปฏิบัติธรรมเพื่อค้นพบสัจจะธรรมภายในตัวเรา หาใช่ภายนอกไม่ มีเหตุ มีผล ขึ้น จิตใจสงบขึ้น หรือว่าโลภ โกรธ หลง น้อยลง ก็อย่างที่หลวงปู่ที่พูดแหล่ะครับ ขอกราบหลวงปู่ด้วยครับ ลึกซึ้งจริงๆ
สั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ธรรมะที่กินใจ...คนเราก็เท่านี้แหล่ะครับ... โลภะ...โทสะ...โมหะ...มีด้วยกันทุกคน...ลดหรือยัง? โมทนาครับ...สาธุ
รัก โลภ โกรธ หลง --->###อ่อน### ยังมีอยู่เต็มพิกัด น่ากลัวชาตินี้คงไม่ได้ดีกับเขาเป็นแน่แท้ ... เฮ้อ!!!
หล่วงปู่ตอบได้ชัดเจนดี การปฏิบัติต้องต่อเนื่องตลอดเลิกไม่ได้ เพระกิเลสมากมายเหลือเกินในยุคปัจจุบันนี้ หยุดมื่อไรกิเลสก็เข้าแทรกเมื่อนั้น การปฏิบัติจะไม่ได้ผล
อนุโมทนากับหลวงปู่ดู่มา ณ ที่นี้ด้วย สา...ธุ... คือ เห็นตามท่านบอก แต่ถ้าอยากได้ธรรมะเพิ่มก็คงต้องศึกษาธรรมะจากชีวประวัติของท่านหรือไม่ก็คงไปพบท่านที่ชั้นดุสิต สินะครับ...
ผมเริ่มเข้าวัดก็เพราะคำสอนของหลวงปู่ดู่(ในหนังสือธรรมะของท่าน) สั้นๆแต่เรียบง่าย ชัดเจนน่าปิติ นะโม พรหมปัญโญ สัทธาธานัง อนุโมธามิ
06.เทวทูตทั้งสี่ ธรรมะที่หลวงพ่อยกมาสั่งสอนศิษย์เป็นประจำมีอยู่เรื่องหนึ่งคือ เทวทูตทั้งสี่ หลวงพ่อท่านหมายถึงผู้เตือน ซึ่งมีอยู่ 4 อย่าง คือ คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย หลวงพ่อเล่าถึงเทวทูตทั้งสี่ สรุปได้ว่า เมื่อเราเกิดมาแล้ว เรามีความแก่เป็นธรรมดา เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา เรามีความตายเป็นธรรมา ท่านว่า " ให้พิจารณาดูให้ดีให้เห็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา " 07.เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา ศีลเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมทุกอย่าง หลวงพ่อมักจะเตือนเสมอว่าในขั้นต้นให้หมั่นสมาทานรักษาศีลให้ได้ แม้จะเป็นโลกียศีล รักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง ก็ให้เพียงระวัง รักษาไป สำคัญที่เจตนาที่จะรักษาศีลไว้ และปัญญาที่คอยตรวจตราแก้ไขตน "เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วทามิ" ท่านว่าเจตนาเป็นตัวศีล "เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ" เจตนาเป็นตัวบุญ จึงขอให้พยายามสั่งสมบุญนี้ไว้ โดยอบรมศีลให้เกิดขึ้นที่จิตเรียกว่า เรารักษาศีล ส่วนจิตที่อบรมศีลดีแล้ว จนเป็นโลกุตรศีลเป็นศีลที่ก่อให้เกิดปัญญาในอริยมรรค อริยผลนี้จะคอยรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้เสื่อมเสียหรือตกต่ำไปในทางที่ไม่ดีไม่งามนี้แลเรียกว่า ศีลรักษาเรา 08.แนะวิธีปฏิบัติ เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า นั่งปฏิบัติภาวนาแล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า " การปฏิบัติ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กันไปมันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกันไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไปก็จะถึงของดี ของวิเศษในตัวเรา แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป " 09.อุบายวิธีทำความเพียร ครั้งหนึ่งที่ได้สนทนาปัญหาธรรมกับหลวงพ่อ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า...เขามาถามปัญหาเข้า ข้าก็ตอบไม่ได้อยู่ปัญหาหนึ่ง ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า "ปัญหาอะไรครับ" ท่านเล่าว่า " เขาถามว่า ขี้เกียจ (ปฏิบัติ) จะทำอย่างไรด ี" หลวงพ่อหัวเราะ ก่อนที่จะตอบต่อไปว่า " บ๊ะ ขี้เกียจก็หมดกัน ก็ไม่ต้องทำซิ”สักครู่ท่านจึงเมตตาสอนว่า " หมั่นทำเข้าไว้ๆ ถ้าขี้เกียจให้นึกถึงข้า ข้าทำมา 50 ปี อุปัชฌาย์ข้าเคยสอนไว้ว่า ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าว...นั่นแหละถึงไม่ต้องทำ " 10.หลวงพ่อทวดกับศิษย์ ในตอนบ่ายของวันหนึ่ง หลวงพ่อดู่ได้สนทนาธรรมกับศิษย์ผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งว่า " ข้าโมทนาสาธุด้วย ไม่เสียทีที่เกิดมาแล้ว นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ เอาจริงได้เลย เรียนแล้วต้องไปประดับเอาเอง ไปถามครูบาอาจารย์ตัวนอก ตัวนอกเขาก็ปุถุชนเหมือนกันใครอ่านหนังสือมากใครรู้มาก เขาแบ่งกันออกไป " จากนั้นท่านก็ได้เล่าถึงหลวงพ่อทวดให้ฟังว่า ฉันไม่ใช่เป็นอาจารย์หรอก อาจารย์นั่นพระพุทธเจ้า หลวงพ่อทวดมั่น ฉันเป็นลูกศิษย์ท่าน หลวงพ่อทวดท่านก็ไม่ยอมเป็นอาจารย์นะ เคยมีลูกศิษย์จะขอให้หลวงพ่อทวดท่านตั้งแบบให้ ได้ถามท่านว่า "หลวงพ่อ ช่วยตั้งแบบปฏิบัติให้ที"" ข้าตั้งไม่ได้" ท่านตอบ" เพราะเหตุไร หลวงพ่อ " ศิษย์เรียนถาม" ก็ข้าเป็นศิษย์พระสมณโคดม ถ้าข้าตั้ง ข้าก็สบประมาทท่าน ผิดจากแบบพระไตรปิฎก ต้องหาแบบใหม่มา เป็นบาป " ท่านตอบ" ถ้าอย่างนั้น ผมขอหลวงพ่อช่วยเหลือในหมู่คณะปฏิบัติ" ศิษย์ขอร้อง ท่านจึงตอบว่า " เออ! งั้นได้ ช่วยเหลือสนับสนุนพระพุทธเจ้าเดิม เพื่อประโยชน์พระศาสนาต่อไปภายหน้า "
10.หลวงพ่อทวดกับศิษย์ ในตอนบ่ายของวันหนึ่ง หลวงพ่อดู่ได้สนทนาธรรมกับศิษย์ผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งว่า " ข้าโมทนาสาธุด้วย ไม่เสียทีที่เกิดมาแล้ว นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ เอาจริงได้เลย เรียนแล้วต้องไปประดับเอาเอง ไปถามครูบาอาจารย์ตัวนอก ตัวนอกเขาก็ปุถุชนเหมือนกันใครอ่านหนังสือมากใครรู้มาก เขาแบ่งกันออกไป " จากนั้นท่านก็ได้เล่าถึงหลวงพ่อทวดให้ฟังว่า ฉันไม่ใช่เป็นอาจารย์หรอก อาจารย์นั่นพระพุทธเจ้า หลวงพ่อทวดมั่น ฉันเป็นลูกศิษย์ท่าน หลวงพ่อทวดท่านก็ไม่ยอมเป็นอาจารย์นะ เคยมีลูกศิษย์จะขอให้หลวงพ่อทวดท่านตั้งแบบให้ ได้ถามท่านว่า "หลวงพ่อ ช่วยตั้งแบบปฏิบัติให้ที"" ข้าตั้งไม่ได้" ท่านตอบ" เพราะเหตุไร หลวงพ่อ " ศิษย์เรียนถาม" ก็ข้าเป็นศิษย์พระสมณโคดม ถ้าข้าตั้ง ข้าก็สบประมาทท่าน ผิดจากแบบพระไตรปิฎก ต้องหาแบบใหม่มา เป็นบาป " ท่านตอบ" ถ้าอย่างนั้น ผมขอหลวงพ่อช่วยเหลือในหมู่คณะปฏิบัติ" ศิษย์ขอร้อง ท่านจึงตอบว่า " เออ! งั้นได้ ช่วยเหลือสนับสนุนพระพุทธเจ้าเดิม เพื่อประโยชน์พระศาสนาต่อไปภายหน้า " <!-- / message --><!-- sig -->