สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    [​IMG]
    [๖๗๘] บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
    ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้
    ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน
    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒
    คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง
    วิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดัง
    นี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็น
    พหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วย
    เทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณ
    แตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
    ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็
    มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง
    วิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้
    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
    มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมาก
    ผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มี
    วิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคล
    ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้
    มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมี
    ความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้
    ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน บุคคล
    บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร
    มาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มี
    วิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะ
    บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุ
    ปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็น
    พระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒
    ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหู-
    *สูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มี
    ความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่ง
    บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้
    ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน บุคคล
    ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร
    มาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มี
    วิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิ-
    *สัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
    ผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมี
    และมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้ง
    เทวโลก ดังนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุ
    ปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิ
    สัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็น
    บุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มี
    ปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิง
    ขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้ว
    พากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้
    มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่
    พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะ
    ทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุ
    ปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาปัญญากถา
    -----------------------------------------------------

    ใครตัดปฎิสัมภิทาญานที่มาในญาน ๗๓ ทิ้ง ก็เตรียมตัว อยากจะปลูกต้นตาล๕๐๐ ไร่ แต่พอถอกยอดแตกหน่อขึ้น กลับเอามีดพร้าฟันฉับ สมแล้วที่เป็นพวกตาลยอดด้วนขุยไผ่ในพระพุทธศาสนา
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จุดจบอันวิบัติ ผลของการมุ่งหมายที่จะทำลายพระอภิธรรมให้สิ้นซากตั้งแต่ตัดพระสูตรออกจากพระอภิธรรม หยามหมิ่นพระอภิธรรม และสุดท้าย

    บัญญัติ อสังขตะธรรมขึ้นใหม่ ว่าอวิชชาสามารถเกาะเกี่ยวครอบงำอสังขตะธรรมได้

    ซึ่งต่อเนื่องจากการ บัญญัติสัตตานังมาเกาะขันธ์๕ เพราะไปวิสัชนา พระ สูตร ผิด เกี่ยวกับทิฏฐิของท่านสาติภิกษุ (หลุมพรางดักโมฆะบุรุษที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระกรุณาขุดไว้ดัก โมฆะบุรุษอลัทชีชั่วๆ ที่มีทิฏฐิโอ้อวดทิฏฐิปัญญาอันชั่วช้าฯ หลอกสัตว์ตาบอดไปนรก)


    มิตฉัตตะ๑๐ ประการนี้ช่างร้ายแรงนัก ผลกรรมนี้ ช่างน่ากลัวเห็นผลได้อย่างเป็นอัศจรรย์ทันตาเห็น

    สาธุ สาธุ สาธุ กรรมบันดาล

    น่าเวทนายิ่ง เหล่าสาวกสำนักคลอง๑๐


    http://palungjit.org/threads/สัตตานังมาเกาะขันธ์๕เวอร์ชั่นล่าสุดกลายเป็นอสังขตะมีอวิชชามาเกาะ.628916/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เสขะปฎิสัมภิทา อย่างเราโลว์สุดแล้วในระดับ๑๖ ต้องบวชให้บริสุทธิ์แล้วจึงจะสามารถพิจารณาบทธรรมอื่นต่อไปได้โดยพึ่งพิงพระสัทธรรมโดยตรง

    ทุกๆวันนี้ได้แต่กินกระแสทางนิรุตติ นานๆได้ปฎิบัติก็ได้ วิมุตติโลกียะ

    คนปัญญาน้อย มีกรรมมาก มีภาระมาก อย่างเรายังได้ พวกท่านผู้เจริญกว่าเล่า จะไม่ได้เลยหรือซึ่ง"ปฎิสัมภิทา"
     
  4. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    ถ้าจ่ามีปัญญาน้อยนี่ผมคงเปรียบเหมือยไส้เดือนดิน ที่โดนคนเอาไม้เขี่ยให้ลงรู แล้วดื้อส่ายหัวสายหางคลานห่างหนีแล้วล่ะครับ ที่จริงไม่ต้องเปรียบก็เหมือนแล้วนะตอนนี้ สติปัญญาด้อยเกิน เพราะศึกษาอะไรก็ไม่เข้าใจ
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ

    คำแปล: ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น

    คาถาบทนี้ เราเองก็ยังไม่สามารถจดจำและท่องได้ อย่างอดีตพระเถระเจ้าที่ทรงปฎิสัมภิทาฯ

    นี่คือกระแส นิรุตติญานทัสสนะที่่ท่านถ่ายทอดเป็นธรรมสมบัติไว้ให้ ล่วงหน้า แม้เราเองก็ปรารถนามีทั้งฤทธิ์และปฎิสัมภิทา ๔ บริบูรณ์อย่างท่าน
    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ และ ปฎิสัมภิทา ๔


    " ถ่อมตนเองได้ในมานะ๙ ทิ้งอัตตาของตนเองได้ แต่อย่าทิ้ง มานะธรรม และอัตตาธรรม นี่คือคำกล่าวของเราในชาตินี้"

    เมื่อปฎิบัติธรรม ตัวตนก็คือธรรม แต่อย่าหลง ในกิเลส ตัณหาลาภ สักการะ สรรเสริญ จนเป็น อธรรม

    จะถ่ายทอดเป็นธรรมสมบัติไว้ได้ ก็ตอนถึงฝั่งแล้วดั่งอาศัยแพฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2017
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำหรับปลดเปลื้องสภาวะธรรมที่ติดค้าง ขออภัยให้ท่านอดโทษให้เสีย โปรดพิจารณา

    http://palungjit.org/threads/o-อัตตกิลมถานุโยคคือการบำเพ็ญทุกกิริยาของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์-o-ไม่ใช่ความโง่หลงปฎิบัติผิดทาง.550375/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 399.jpg
      3333 399.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.5 KB
      เปิดดู:
      98
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    อัศจรรย์จริงๆ แม้ไม่เคยได้อ่านพระสูตร ๑๖ ระดับก็รู้ได้ตามสภาวะ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ความจริงจะปรากฏเมื่อถึงเวลา สักวันหนึ่งคนทำผิดจะต้องรับโทษ”


    โดยปฎิสัมภิทาญานไในพระพุทธศาสนานี้ไม่มีคำของพระสาวก
    แม้แต่เถรคาถาก็ตาม



    มูลสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็น
    เหตุเกิด มีอะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็น
    ยิ่ง มีอะไรเป็นแก่น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูก
    ถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร


    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้
    มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง พระพุทธ
    เจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระ
    ภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
    กล่าว


    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด ... มีอะไรเป็นที่หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชก
    เหล่านั้นอย่างนี้ว่า

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๘

    จากสหธรรมกัลยาณมิตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธรำพึง

    หลังจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วและทรงเสวยวิมุตติสุขตามบริเวณ “สัตตมหาสถาน” จำนวน ๗ แห่ง เป็นเวลาแห่งละ ๗ วัน จนครบ ๗ สัปดาห์ไปตามลำดับคือ :
    ๑. รัตนโพธิบัลลังก์(รตฺนโพธิปลฺลงฺก) ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ(สิริมหาโพธิ )-(อัสสัตถพฤกษ์)
    ๒. อนิมิสสเจดีย์(อนิมิสฺสเจติย)
    ๓. รัตนจงกรมเจดีย์(รตฺนจงฺกมเจติย)
    ๔. รัตนฆรเจดีย์(รตฺนฆรเจติย)
    ๕. อัชปาลนิโครธเจดีย์(อชปาลนิโครธเจติย)
    ๖. มุจจลินทเจดีย์(มุจจลินฺทเจติย)
    ๗. ราชายตนเจดีย์(ราชายตนเจติย)


    ใน สัปดาห์ที่ ๘ ขณะประทับนั่ง ณ ควงไม้อัชปาลนิโครธ
    ทรงพุทธรำพึงว่า :
    ธรรม(ธมฺม) ที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต(ปณีต) มิใช่วิสัยแห่งตรรก(ตกฺก) คือ คิดเอาเองไม่ได้ หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่ปัณฑิตะ บัณฑิต(ปณฺฑิต ) พอจะรู้ได้
    อนึ่งเล่า สัตวะทั้งหลายส่วนมากยังถูกอวิชชาครอบงำ ยินดีในความอาลัย เริงรมย์และชื่มชมในอาลัย คือ กามคุณ สัตวะเหล่านั้นจะไม่รู้ซึ้งถึงธรรมของตถาคต สัตวะผู้เห็นปานนั้น ยากนั้นที่จะเห็นปฏิจจสมุปบาท(ปฏิจฺจสมุปฺปาท)และพระนิพพาน ซึ่งมีสภาพบอกคืนกิเลศ(กิเลส)ทั้งมวล ทำตัณหาให้สิ้น ดับทุกข์ ตถาคตจะพึงแสดงธรรมหรือไม่หนอ ถ้าแสดงไปแล้วคนอื่นรู้ตามไม่ได้ ตถาคตก็จะพึงลำบากเปล่า โอ! อย่า เลย อย่าประกาศธรรม ที่ตถาคตได้บรรลุแล้วเลย ธรรมนี้อันบุคคล(ปุคฺคล)ผู้เพียบแปล้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ จะรู้ได้โดยง่ายมิได้เลย บุคคลที่ ยังยินดีพอใจให้กิเลศ(กิเลส)ย้อมจิต ถูกความมืดคืออวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่สามารถเห็นได้ซึ่งอมตธรรม อันจะยังสัตวะให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมที่ทวนกระแสจิตอันละเอียด ประณีต ลึก ซึ้ง เห็นได้ยากนี้


    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม(สหมฺปตีพฺรหฺม) ทรงทราบพระปริวิตกก(ปริวิตฺกก)ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า : “ท่านผู้เจริญ โลกจักพินาศ(วินาโส )หนอ ท่านผู้เจริญ โลกจักพินาศ(วินาโส )หนอ เพราะจิตของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อการทรงแสดงธรรมฯ”
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม จึงหายวับจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ สำนักของพระบรมศาสดา พร้อมทรงพาท้าวสักกเทวราช ท้าวสุยามเทวราช ท้าวสันตุสิตเทวราช ท้าวนิมมานรตีเทวราช ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช และท้าวมหาพรหมทั้งหลายจากหมื่นจักรวาล มาทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม การเสด็จมาของท้าวมหาพรหมเปรียบเสมือนบุรุษ(ปุริสา) ผู้มีกำลังเหยียดแขน คู้แขนฉะนั้น ต่างพากันเสด็จไปประดิษฐานเฉพาะพระพักตร์พระทสพลญาณ

    ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม จึงห่มผ้าลดไหล่ข้างหนึ่ง คุกเข่าขวาลง ณ พื้นปฐพี ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดประทาน
    พระสัทธรรมแด่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ของพระสุคตเจ้าทรงโปรดแสดงธรรมเถิด สัตวะทั้งหลายผู้มีธุลีในจักขุน้อย (มีอกุศลจิตน้อย) ยัง มีอยู่ แม้มิได้สดับรับรสแห่งพระสัทธรรม ก็จะเสื่อมสูญจากพระอริยมัคคญาณ ผลญาณ จะสูญเสียประโยชน์อันใหญ่หลวง อนึ่งสัตวะผู้บำเพ็ญบารมีมา แต่ในสมเด็จพระพุทธเจ้าในอดีตกาล บริบูรณ์ประดุจดอกปทุมชาติ พร้อมที่จะบานเมื่อได้รับแสงพระสุริยา มีความปรารถนาจะได้รับฟังพระสัทธรรม แม้เพียงพระคาถาเดียวก็จะหยั่งลงในอริยภูมิ สำเร็จมัคค ผลได้ ส่วนสัตวะที่มีอุปนิสัยที่จะบรรลุธรรมนั้นมีมากต่อมาก ขอพระสุคตเจ้าผู้ทรงสร้างสมติงสปารมีมาสิ้นกาลนาน จนบัดนี้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ขอทรงมีพระมหากรุณาแก่สรรพสัตว์ หากแม้นมิได้ตรัสพระสัทธรรมเทศนา(สทฺธมฺมเทสนา) สัตวโลกทั้งหลายจะแสวงหาที่พึ่งจากที่ใดเล่า”
    ดัง พระคาถาอาราธนาธรรม ว่า:
    พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ กตญฺชลี อนธิวรํ อยาจถ
    สนฺตีธ สตฺตา อปฺปรชกฺชชาติกา เทเสหิ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชนฺติฯ
    ภควา โลกาธิปตี นรุตฺตโม กตญฺชลีพฺรหฺมคเณหิ ยาจิโต
    สนฺตี ธ ธีราปฺปรชกฺขชาติกา เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ
    เทเสตุ สุคโต ธมฺมํ เทเสตุ อมตํปทํ
    โลกานมนุกมฺปาย ธมฺมํ เทเสตุ นายก ฯ
    สมฺปนฺนวิชชาจรณสฺส ตาทิโน ชุตินฺธรสฺสนฺติมเทหธาริโน
    ตถาคตสฺสปฺปฏิปุคฺคลสฺส อุปฺปชฺชิ การุญฺญตา สพฺพสตฺเต ฯ
    ตํ สุตฺวา ภควา สตฺถา อิทํ วจนมพรวิ (วะจะนะมะพะระวิ)
    อปารุตา เต อมตสฺส ทฺวารา เยโสตวนฺโต ปมุญฺจนฺตุ สทฺธํ
    วิหึสสญฺญี ปคุณํ น ภาสึ ธมฺมํ ปณีตํ มนุเชสุ พฺรเหฺมติ (พรหมเมติ) ฯ


    การ ที่ท้าวสหัมบดีพรหมมาทูลอาราธนาธรรม เพื่อให้พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดเวไนยสัตว์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระพุทธธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประกาศต่อไปนี้เป็นหลักธรรมที่มีความลึก ซึ้ง สุขุม คัมภีระ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น เป็นพระพุทธวจนะล้วน แม้จะเป็นถ้อยคำของอรรถกถาจารย์ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับรองแล้ว นั่นคือ พระพุทธวจนะเช่นกัน และเพื่อประกาศว่าชาวพุทธทั้งสิ้นจะต้องยึดหลักพระพุทธรำพึง จะต้องสิกขาธรรมด้วยความคัมภีระ เพราะธรรมที่ประกาศนั้นไม่ใช่ความคิดของปุถุชนคนกิเลศ(กิเลส)หนา ไม่ใช่ความคิดของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม หรือ อรูปพรหม แต่เป็นธรรมที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีแต่พระ พุทธเจ้าเท่านั้นที่จะนำพาเราไปสู่ความลุ่มลึกของธรรมนั้นได้

    พระ พุทธรำพึงเป็นตัวบ่งบอกว่า จากนี้ไปเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคราวใดนั้น ธรรมที่ทรงแสดงนั้นจะต้องมีความสุขุม ลุ่มลึก ไม่ใช่เอามาคิดกันง่ายๆ ไม่ใช่เอามาพิจารณาตื้นๆ ไม่มีการลงความเห็นด้วยการเดา การที่จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ในพุทธันดรหนึ่งเป็นเรื่องแสนยาก ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ก็ยากนักที่จะมีเวไนยสัตว์บรรลุธรรม แม้สุคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม) ก็เป็นอันหวังได้ยาก ดังนั้นเวไนยสัตว์ ๓๑ ภูมิ (อบายภูมิ๔ มนุษย์๑ เทวดา๖ พรหม๑๖ และอรูปพรหม๔) ต่างรอคอยความตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมที่ละเอียด ยากต่อการที่บุคคลจะตรึกระลึกเอาเอง แล้วจะสามารถรู้แจ้งแทงตลอด พระพุทธเจ้าจึงมาบังเกิดเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ให้ได้ถึงซึ่งโลกุตตระ

    “ธรรมที่ตถาคตบรรลุแล้วนี้ ลึก ซึ้ง” ลึก มาจาก คัมภีระ เมื่อ “ลึก” แล้วจึง “ซึ้ง” ไม่มีพิจารณาตื้นเขิน นั่นหมายความว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประกาศต่อไปนี้ ต้องเป็นธรรมที่ไม่ใช่คนธรรมดาจะคิดได้ แต่เป็นธรรมที่เกิดจากความตรัสรู้ ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ทรงใช้เวลา ๒๐ อสงไขย กำไรแสนกัปป์ หรือหลังจากรับพยากรณ์แล้วจากพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
    พระโพธิสัตต์ (โพธิสตฺโต ) ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์ เรียกว่า “อนิยตโพธิสัตต์”
    พระโพธิสัตต์ (โพธิสตฺโต ) ที่ได้รับพยากรณ์แล้ว เรียกว่า “นิยตโพธิสัตต์”
    พระ โพธิสัตต์ ทรงนึกในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า ๗ อสงไขยทรงสร้างมหากุศล(มหากุสล) เปล่งพระวาจาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าอีก ๙ อสงไขย และเมื่อได้รับพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เป็น “นิยตโพธิสัตต์” ทรงสร้างพระปารมีต่ออีก ๔ อสงไขย กำไรแสนกัปป์ จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็น “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า”ณ ควงไม้ พระศรีมหาโพธิ ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ วิสาขมาส (เดือน ๖ ) สถานที่นั้นปัจจุบันนี้คือพุทธคยา ตำบลคยา ประเทศอินเดีย

    ความหมายของ อสงไขย และ กัป
    * อสงไขย หรือ อสังเขยยะ (อสงฺเขยฺย)
    = เป็นปริมาณหรือจำนวนที่มีการกำหนดที่นับประมาณมิได้ อุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า : ฝน ตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง ๓ ปีไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง ๓ ปี นับได้เท่าไร นั้นคือจำนวนเม็ดฝน ๑ อสงไขย
    อนึ่ง คำว่า อสงไขย มาจากภาษามคธว่า อสงฺเขยฺย หมายถึง นับไม่ได้ หรือ นับไม่ถ้วน
    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุ
    จำนวนอสงไขย = โกฏิ ยกกำลัง ๒๐
    หรือ ๑ อสงไขย = 1 x 10140 ปี


    * กัปป์ หรือ กัปปะ(กปฺป) หรือ กัป มีความหมายอยู่ ๒ ความหมาย คือ:
    ๑. จาก ปัพพตสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า : ภูเขาหินลูกใหญ่ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) ภูเขาไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสี (ผ้าใยบางเบาเหมือนควันบุหรี่) มาปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ครั้งต่อปี จนกว่าภูเขานั้นจะเตียนราบ ระยะเวลานั้น = ๑ กัปป์

    ๒. จาก สาสปสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า :นคร ทำด้วยเหล็กยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนคร โดยใช้เวลา ๑๐๐ ปีต่อ ๑ เมล็ด จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะหมดสิ้นไป ระยะเวลานั้น = ๑ กัปป์

    เราสิกขาธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่ากับความลึก ๔ อสงไขย กำไรแสนกัปป์
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ ปุถุชนคนกิเลสหนา
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ สัตว์นรก
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ เปรต

    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ อสุรกาย
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ สัตว์เดรัจฉาน
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ มนุษย์
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ เทวดา

    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ พรหม
    ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ความคิดของ อรูปพรหม


    ความ คิดที่มีอยู่ในโลกเป็นของยาก เช่นความคิดของเทวดา พรหม อรูปพรหม แต่ความคิดของพระพุทธเจ้านั้นมีความลุ่มลึกยิ่งกว่าวิสัยปุถุชนคนธรรมดาจะ ระลึกได้ การจะไปถึง ๔ อสงไขย กำไรแสนกัปป์ ต้องมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำทางเราไปสู่ความลุ่มลึกนั้น เราไม่สามารถจะไปขุดความลึกซึ้งนั้นได้ เพราะเป็นธรรมคัมภีระ ในความเป็นธรรมคัมภีระ ไม่ว่าจะลึก ซึ้ง สงบ ประณีต นั้นก็คือ
    สงบ คือ เวทนา
    เวทนา คือ ฌาน
    ฌาน คือ พระอรหันต์


    ธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศต่อไปนั้น คือ พระพุทธองค์ทรงประกาศให้เห็นว่าหลักสัจจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น ทรงประกาศหลักธรรมลึกซึ้งรวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมมขันธ์ เป็นพระพุทธวจนะล้วน ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และอีก ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นคำสอนจากพระพุทธสาวก เมื่อพระพุทธองค์ทรงยอมรับนั่นคือ พระพุทธวจนะ

    หน้าที่ ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย คือ มีหน้าที่ฟัง ฟัง ฟัง แล้วใคร่ครวญ ตรึกตรองในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะนั่งหลับตาก็คิดใคร่ครวญธรรมอยู่ในใจ ไม่ใช่ไปนึกคิดเอาเองตามใจเรา หรือตามคำสอนของลัทธิต่างๆ เพราะในยุคกึ่งพุทธกาลนี้จะมีลัทธิต่างๆ เกิดขึ้นมากมายดังดอกเห็ด และนำคำสอนต่างๆ มาสอนโดยไม่สนใจพระไตรปิฎก(ติปิฏก)ซึ่งเป็น พระพุทธวจนะ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้

    พระไตรปิฎก(ติปิฏก) เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าอันเกิดจากความตรัสรู้ด้วยพระบารมีที่สร้างมา ๒๐ อสงไขย กำไรแสนกัปป์ (สำหรับพระพุทธเจ้าปัญญาธิกะ) ถ้าเราไม่เอาพระไตรปิฎก เท่ากับว่าเราไม่เอาพระพุทธเจ้า ชาวพุทธที่สนใจในพระพุทธศาสนาก็คือผู้ที่สนใจศึกษา(สิกฺขา)ในหลักธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สนใจศึกษาแต่พุทธประวัติ หรือสนใจแต่พระสูตร หรือสนใจแต่พระวินัย แต่หลักธรรมที่สำคัญยิ่งคือ พระอภิธรรม(อภิธมฺม)ที่ประกอบด้วย ปรมัตถธรรม(ปรมตฺถธมฺม) ๔ คือ จิต(จิตฺต) เจตสิก(เจตสิก) รูป(รูป)นิพพาน(นิพฺพาน) การสิกขาธรรมต้องเริ่มตั้งแต่ “อนุบาล (อนุปาล)”

    แล้วจะ ไปจบเมื่อไรอย่าไปสนใจ ต้องนึกถึงว่า พระพุทธศาสนาไม่ใช่ของง่าย แต่เป็นของยากที่สุด พระพุทธศาสนาจึงไม่ง้อคน พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปอ้อนวอน ขอร้อง หรือบังคับให้เชื่อ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเพชรล้ำค่า ไม่ง้อให้คนฟัง ไม่ได้ง้อให้คนนับถือ ถือเสียว่า “ใครทำ ใครได้” พระพุทธองค์ทรงมีหน้าที่ “ชี้ทางให้เดินสู่นิพพาน” แล้วแต่ใครจะมีบุญ(ปุญฺญ)ได้เดินตามหรือไม่เท่านั้น
    พระพุทธเจ้า ทรงชี้ เข้าไปใน จิต ของเรา
    พระพุทธเจ้า ทรงชี้ เข้าไปใน เจตสิก ของเรา
    พระพุทธเจ้า ทรงชี้ เข้าไปใน รูป ของเรา

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชี้เข้าไปในจิต เจตสิก รูป ของเราแล้ว ทำให้เรารู้ตามพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ เมื่อพระพุทธเจ้า “ตรัส” เราจึง “รู้” ตามพระพุทธองค์

    การ “ชี้” คือ การสดับธรรมตามหลักพุทธธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนพระพุทธองค์จะทรงเทศนา(เทสนา) ก่อนพระพุทธองค์จะประกาศธรรม พระพุทธองค์ทรงพุทธรำพึงว่า : “ธรรม ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วนี้ ลึก ซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่งตรรก คือ คิดเอาเองไม่ได้ หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา...”

    การที่ทรงพุทธรำพึงเพื่อประกาศว่า “คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์นั้นเป็นธรรมที่สุขุม คัมภีระ ลุ่มลึก ยากที่เวไนยสัตว์จะรู้ได้ด้วยตนเอง” การประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อให้พุทธบริษัท๔(พุทธปริสา๔) คือ ภิกษุ(ภิกฺขุ) ภิษุณี(ภิกฺขุนี) อุบาสก(อุปาสก) อุบาสิกา(อุปาสิกา) ถึงพระพุทธศาสนาคือมี ศรัทธา(สัทธา) ที่มาจากสัทธาเจตสิก เป็นโสภณเจตสิก ทำงานกับกุศลจิต(กุสลจิตฺต)อย่างเดียว มีความหมายว่ากั้นบาป กั้นอกุศล(อกุสล) กันอกุสลไม่ให้เข้ามา ถ้าเราไม่ถึงพระพุทธเจ้า ทำให้เราขาดโอกาสที่จะสิกขาธรรมให้เข้าใจ พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธรำพึงเพื่อประกาศว่า : “บริษัท๔(ปริสา ๔) ทั้งหลายถ้าท่านถึงสัทธาเมื่อไร ท่านจะถึงสติ”สัทธานี้ คือ พระพุทธเจ้า การที่เราจะสัทธาพระพุทธเจ้านั้น คือเราต้องฟังธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เราต้องสิกขาธรรมของพระพุทธองค์ไปตาม ลำดับ เพื่อก่อให้เกิดผลในอนาคตภายหน้า

    ในความหมายของพระพุทธรำพึงนี้ ผู้ที่จะรับฟังความคิดคำนึงในจิตของพระพุทธเจ้าได้คือท้าวสหัมปตีพรหม พระอรหันต์ชั้นอกนิฏฐกาสุทธาวาส ท่านได้ยินกระแสพุทธดำรัสจากพุทธรำพึงในจิต ณ ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร) และกระแสพุทธรำพึงนี้ไปถึงชั้นอกนิฏฐกาพรหม ชั้นสุทธาวาส ซึ่งท่านท้าวสหัมปตีพรหม ท่านมีหน้าที่จะต้องมาอาราธนา แม้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก็จะมีลักษณะอย่างนี้ เป็นการประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ใช่การประกาศธรรมดา แต่เป็นการประกาศว่า : “ธรรม ที่พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงต่อไปนี้ ไม่ใช่ของง่าย ธรรมที่พระพุทธเจ้าจะทรงประกาศต่อไปนี้ เป็นหลักธรรมที่นำพาเวไนยสัตว์ ไปสู่มัคค ผล นิพพาน พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดใน๓๑ ภูมิ”

    พระพุทธเจ้าทรงพุทธรำพึงและท้าวสหัมปตีพรหมทรงรับทราบ และทรงทูลอาราธนาธรรมว่า : “สัต วะทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีในนัยน์ตาน้อย (มีอกุศลจิตน้อย) ยังมีอยู่ในโลกนี้ ยังสามารถฟังธรรมเข้าใจ และสามารถบรรลุธรรมได้ ขอพระพุทธองค์ทรงโปรดอนุเคราะห์แสดงธรรม เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ให้ออกจากสังสารวัฏฏะด้วยเถิด”

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเวไนยสัตว์เปรียบประดุจบัว ๔ เหล่า คือ
    ๑. อุคฆฏิตัญญู คือบุคคลที่อาจรู้ธรรมโดยเฉียบพลัน เพียงแต่ท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง มีปัญญาเฉียบแหลม ฟังหัวข้อธรรมก็เข้าใจ เพียงได้รับธรรมก็เข้าใจ เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว เพียงได้รับแสงอาทิตย์ก็บานทันที ได้แก่ “ติเหตุกบุคคล(ติเหตุกปุคฺคล)” ผู้มีจิต ๑๓ คือ :
    ติเหตุกบุคคล จิต ๑๓ : กามาวจรญาณสัมปยุตตมหากุสลจิต ๔
    รูปาวจรมหากุสลจิต ๕
    อรูปาวจรมหากุสลจิต ๔

    ไม่มีอกุศลจิต(อกุสลจิตฺต) ๑๒ คือ โลภจิต๘ โทสจิต๒ โมหจิต๒ ขึ้นมากั้นธรรม บุคคลประเภทนี้ได้แก่ : พรหมผู้ได้ฌาน ผู้ได้สมาธิมีปัญญาตัดกิเลส เพราะมีสมาธิเป็นฐานของปัญญา พร้อมที่จะบรรลุธรรมโดยเฉียบพลัน และเป็นผู้มี กุสลเหตุ ๓ คือ :
    ๑. อโลภเหตุ
    ๒. อโทสเหตุ

    ๓. อโมหเหตุ (ปัญญาเจตสิก ตัดกิเลส)
    หรือมี เหตุอีก ๓ คือ :
    ๑. พระวินัยปิฎก(วินยปิฏก) ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    ๒. พระสุตตันตปิฎก(สุตฺตนฺตปิฏก) ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    ๓. พระอภิธรรมปิฎก(อภิธมฺมปิฏก) ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

    ได้แก่ บุคคลในสมัยพุทธกาล แม้เพียงฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงอรรถธรรมเดียวก็บรรลุธรรม เป็นบุคคลผู้เกิดมาด้วย “ญาณสัมปยุตมหาวิปากจิต”

    ๒. วิปจิตัญญู
    คือ บุคคลผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายขยายความความหมายของหัวข้อนั้นๆ เปรียบเสมือนบัวปริ่มน้ำ พร้อมที่จะบานในวันต่อไป ได้แก่บุคคลผู้เป็น “ทวิเหตุกบุคคล(ทวิเหตุกปุคฺคล)” บุคคลผู้มีจิต ๑๔ คือ :
    ทวิเหตุกบุคคล จิต ๑๔ : โลภมูลจิต ๘
    โทสมูลจิต ๒
    กามาวจรญาณวิปปยุตตมหากุสลจิ ๔
    บุ
    คคลผู้มีญาณวิปปยุตตจิต ๔ ยังมี :
    กุสลเหตุ ๒ คือ อโลภเหตุ ๑ และ อโทสเหตุ ๑
    อกุสลเหตุ ๒ คือ โลภเหตุ ๑ และ โทสเหตุ ๑

    บุคคลประเภทนี้จะฟังธรรมพระพุทธเจ้าได้ แต่จะเข้าใจยาก จะบรรลุธรรมยาก เพราะยังมีโลภเหตุ และโทสเหตุ จะเข้าใจธรรมต่อเมื่อมีการขยายข้อธรรม ต้องสะสมภูมิธรรมไปอีกนับอเนกอนันตชาติ จะต้องใช้เวลาอีกเนิ่นนาน บุคคลประเภทนี้ได้แก่ เทวดาตั้งแต่ชั้น ตาวตึงสา ยามา ตุสิตา นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ผู้ยังอยู่ในกามาวจรภูมิ เกิดมาด้วย “ญาณวิปปยุตมหาวิปากจิต”

    ๓. เนยยะ
    คือ บุคคลที่พอจะแนะนำได้ คือพอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ เมื่อได้รับการขยายอธิบายข้อธรรมให้กระจ่างมากยิ่งขึ้นกว่าวิปจิตัญญู เปรียบเสมือนบัวที่อยู่ใต้น้ำ พร้อมที่จะบานในวันต่อๆ ไปคือบุคคลที่เป็น “สุคติอเหตุกบุคคล(สุคติอเหตุกปุคฺคล)” ต้องใช้เวลาในการใคร่ครวญธรรม ส่วนมากเป็นคนที่ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรม หรือมีโอกาสฟังธรรมแล้วแต่ไม่สนใจ และไม่รู้ธรรม และชอบคิดเอาเองไม่ฟังพระพุทธเจ้า ได้แก่คนในยุคนี้ บุคคลประเภทนี้เรียกว่า “สุคติอเหตุกบุคคล(สุคติอเหตุกปุคฺคล)” ไม่มีเหตุ ๖ มาทำงาน คือ :
    กุสลเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ ๑ อโทสเหตุ ๑ อโมหเหตุ ๑
    อกุสลเหตุ ๓ คือ โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑

    ได้แก่ คนผู้มาเกิดด้วย อุเปกขาสันตีรณอเหตุกกุสลวิปากจิต มีจิตทำงาน ๑๖ คือ :
    สุคติอเหตุกบุคคล จิต ๑๖ : โลภจิต ๘
    โทสจิต ๒
    โมหจิต ๒
    กามาวจรญาณวิปปยุตตมหากุสลจิต ๔

    บุคคล ประเภทนี้ เป็นคนไม่มีเหตุผล เมื่อฟังพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ต้องเริ่มต้นสะสมธรรมใหม่ เริ่มมีวินัย และทำตามวินัยของพระพุทธเจ้า ได้แก่ คน มนุษย์ และเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

    ๔. ปทปรมะ คือบุคคลที่ไม่สามารถจะเข้าใจธรรม ไม่สามารถรู้ธรรม หมดโอกาสบรรลุธรรม เปรียบเสมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม มีแต่จะเป็นอาหารของเต่า ปู ปลา ฯลฯ คือบุคคลผู้เป็น “ทุคติอเหตุกบุคคล(ทุคติอเหตุกปุคฺคล)” คือ บุคคลผู้มีจิต ๑๒ ทำงานอยู่เป็นประจำคือ :
    ทุคติอเหตุกบุคคล จิต ๑๒ : โลภมูลจิต ๘
    โทสมูลจิต ๒
    โมหมูลจิต ๒
    บุ
    คคล ประเภทนี้มีอกุศลจิต(อกุสลจิตฺต) ๑๒ ทำงานพร้อมด้วยอกุศลเจตสิก(อกุสลเจตสิก) บุคคลประเภทนี้ได้แก่ อบายสัตว์(อปายสัตว์)ในอปายภูมิ ๔ คือ สัตวนรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ผู้ไม่สามารถจะรู้ธรรมได้ หมดโอกาสบรรลุธรรม มีแต่อกุสลเหตุมาทำงานคือ :
    โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงทราบความเป็นไปของสัตวะทั้งหลายด้วยความตรัสรู้ วิชชา ๓ คือ :
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงทราบเรื่องราวในอดีตภพ (อตีตภว) ย้อนกลับไปถึงพันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติ นับจะประมาณมิได้ ว่าทรงเกิดเป็นอะไร มีชื่อ โครตได้เสพสุข ทุกข์มาอย่างไร
    ๒. จุตูปปาตญาณ ทรงมีทิพพจักขุ ล่วงรู้ถึงกำเนิดหรือจุติ หรืออุปัตติของสัตวะทั้งหลาย รู้ถึงกรรม(กมฺม)
    และบารมี(ปารมี)ที่สัตวะสั่งสมมาว่าจะบรรลุธรรมด้วยธรรมใด
    ๓. อาสวักขยญาณ ทรงตรัสรู้การทำอาสวะให้สิ้น บรรลุถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและเพื่อประกาศให้โลกเห็นเป็นธรรม บัญญัติ(ธมฺมปญฺญตฺติ)ว่า ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นธรรมที่ละเอียด สุขุม คัมภีรภาพ ต้องฟังและใคร่ครวญตามธรรมของพระพุทธองค์เท่านั้น จึงจะลึก ซึ้ง และสงบ ประณีตได้ ไม่ใช่มานั่งสงบของเราเอง
    ถ้าจะสงบ ต้องสงบ โดยพุทธธรรม
    ถ้าจะลึกซึ้ง ต้องลึกซึ้ง โดยพุทธธรรม
    ถ้าจะปณีตะ ต้องปณีตะ โดยพุทธธรรม.


    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
    วิเสสลกฺขณมิตฺตา
    ชมรมสิกขาธัมมะตามพระไตรปิฎก(ติปิฏกะ) ๘๔๐๐๐ พระธัมมขันธะ





     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 436.jpg
      3333 436.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.7 KB
      เปิดดู:
      84
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    วัดนาป่าพง


    อยากเป็นพระอนาคามี ซื้อสิครับ รออะไร? แค่เพียงฟัง ซีดีพุทธวจน ของสำนัก


    "ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือน เราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ"

    ให้อรหันต์แจกอนาคามีแถมพระโสดาบันกันสนั่นโลก ทั้งในประเทศ และเครื่อข่ายสำนักวัดนาป่าพงสาขาต่างประเทศ แจกยันคนตายตัวเหลือง เวรกรรมจริงๆ

    นาที 37เป็นต้นไป



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธวจน

    "ถึงจะรับรู้ไม่ได้เปิดไปได้ผลหมด"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "จากผู้รู้จักความสำคัญของ ปฎิสัมภิทาญาน" พุทธา



    ลองอ่านตามไปอย่างช้าๆ แล้วนึกภาพตามไปด้วย เดี๋ยวคุณก็จะเข้าใจเอง)

    - สมมติว่าอยู่ดีๆ ผมหยิบหนังสือพุทธวจนะขึ้นมาอ่าน แล้วพูดสอนให้คุณฟัง คุณจะเชื่อถือผมหรือไม่? (คุณก็คงไม่ค่อยจะเชื่อถือผมซักเท่าไหร่ใช่มั้ย?)

    - งั้นสมมติว่าพรุ่งนี้ ผมไปบวชเป็นพระสงฆ์ห่มจีวรเหลืองมาเทศน์สอนคุณ คุณจะเชื่อถือผมหรือไม่? (ก็ไม่อยู่ดีใช่มั้ย? เพราะผมเพิ่งบวชได้แค่วันเดียว)

    - งั้นผมขอเก็บตัวอ่านพุทธวจนะซัก 10 ปี แล้วค่อยออกมาสอนคุณ คุณจะเชื่อถือผมหรือไม่? (คุณก็ไม่ค่อยอยากจะเชื่อถือผมอยู่ดี เพราะอะไร?)

    ก็เพราะไม่รู้ว่าในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ ผมจะเข้าถึงธรรมได้ซักแค่ไหน? ผมมานั่งอ่านธรรมะแบบมั่วๆให้คุณฟังอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้?
    ผมจะตีความพุทธวจนะได้ถูกต้องตรงทางหรือเปล่าก็ไม่รู้? และถ้าผมมาสอนคุณต่อ ก็ไม่รู้ว่าผมจะถ่ายทอดความรู้ผิดๆมาให้คุณหรือเปล่าก็ไม่รู้?

    แม้ว่าผมจะห่มเหลือง และมือของผมก็ถือหนังสือพุทธวจนะอยู่ก็ตาม และปากของผมก็อ้างว่าผมพูดสอนแต่คำของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    แต่พวกคุณก็ควรจะต้องพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่ผมถ่ายทอดให้แก่คุณอยู่ดี จริงมั้ย?


    ((((( นั่นแหละครับแบบเดียวกัน )))))

    ไม่ใช่ว่าพอมีใครมาห่มเหลืองแล้วมายืนอยู่ต่อหน้าคุณ หรือได้มาพูดออกทีวี แล้วก็จะสอนธรรมะได้ถูกต้องตรงทางเหมือนกันหมดทุกคน ไม่ใช่อย่างนั้น
    ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส หรือว่าจะเป็นผู้ถือบวชห่มเหลืองอยู่ก็ตาม ถ้าเขาเข้าถึงธรรมได้น้อย เขาก็จะเข้าใจในพระธรรมได้น้อยตามไปด้วย
    และก็อาจจะมีความเข้าใจผิดอยู่มาก และก็อาจจะเอาความเข้าใจผิดนั้น มาสอนผิดๆส่งต่อให้แก่คุณอีกทีหนึ่ง
    (คุณจะต้องใช้ปัญญาพิจารณาในการฟังธรรมเสมอ ไม่ใช่เชื่อเลยทันทีโดยไม่ตรวจสอบ)

    พระไตรปิฏกนั้น แม้จะมีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้วก็ตาม แต่คุณก็จะต้องอาศัยใช้ปัญญาในการตีความพระธรรมที่เป็นภาษาไทยนั้น
    ไม่ใช่สักแต่ว่าใครก็ได้ที่อ่านภาษาไทยออก ก็จะเข้าถึงธรรมกันได้หมดทุกคน ไม่ใช่อย่างนั้น
    ไม่อย่างนั้นคนที่เรียนนักธรรม ก็คงจะบรรลุธรรมกันไปหมดทุกคนแล้ว เพราะพวกเขาเหล่านั้นอ่านภาษาไทยออกกันหมดทุกคน ไม่ใช่อย่างนั้น
    (ยังต้องขึ้นอยู่กับสติปัญญาและการเข้าถึงธรรมของคนแต่ละคนอยู่ ไม่ใช่แค่เขาอ่านภาษาไทยออกก็พอ)

    of9487jr5u1G2UfQq3I-o.jpg
    ต่อให้คุณจดจำตัวอักษรทั้งหมดในพระไตรปิฎกได้ แต่ถ้าคุณปฏิบัติตามนั้นไม่ได้ ความรู้ที่คุณมีก็จะเป็นเพียงแค่ความ "รู้จำ" เท่านั้น ไม่ใช่ความ "รู้ตาม"
    เพราะฉนั้น ต่อให้คุณจำตัวอักษรทั้งหมดในพระไตรปิฎกได้ คุณก็ได้แค่ ปริยัติ เท่านั้น แต่ถ้า ปฏิบัติ&ปฏิเวธ ยังไม่ได้ คุณก็ยังเป็นเถรใบลานเปล่าอยู่ดี

    เพราะฉนั้น ถ้ามีใครที่เขาท่องจำพระไตรปิฎกได้ หรือ ท่องจำพุทธวจนะได้ แล้วมานั่งท่องบ่นให้คุณฟังได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาบรรลุธรรมแล้ว
    หรือ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีความรู้-ความเข้าใจถูกต้องในพระธรรมในทุกๆเรื่อง ในทุกๆแง่มุม (บางเรื่องสอนถูก บางเรื่องสอนผิด)
    (เรื่องไหนที่เขาสอนผิด คุณก็ไม่รู้ว่าผิดตรงไหนบ้าง? และก็ไม่รู้ว่าผิดเพราะว่าอะไร? ก็เพราะว่าคุณไม่มีความรู้มากพอที่จะไปตรวจสอบเขา)
    เพราะว่าใครจะเข้าใจในพระธรรมได้ถูกต้องตรงทางแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาและการเข้าถึงธรรมของคนๆนั้น ไม่ใช่แค่เขาอ่านภาษาไทยออกก็พอ
    หรือ ไม่ใช่แค่การท่องจำพระสูตรได้ก็พอ (เพราะถ้าปัญญาของเขาไม่ถึงขั้นพระอริยะเจ้า เขาก็ย่อมมีโอกาสที่จะตีความพระธรรมผิดทางได้อยู่เสมอ)


    โดยเฉพาะในเรื่อง ฌานสมาธิ และ ความเป็นพระอริยะเจ้า (เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้ จำเป็นจะต้องอาศัยการปฏิบัติตนให้ "เข้าถึง" จึงจะสามารถ "รู้ตาม" ได้)
    "ถ้าไม่เข้าถึง ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ ก็จะเข้าใจไม่ได้" ก็จะ "รู้ตาม" ไม่ได้ (จะทำได้แค่การท่องจำตัวหนังสือในตำรามาเท่านั้น)
    เมื่อปฏิบัติไม่ได้-ปฏิบัติไม่ถึง จึงไม่มีความรู้ตามเกิดขึ้น จึงไม่มีความรู้ของนักปฏิบัติที่เข้าถึงธรรมได้มาบอกสอน (และจะพูดขยายความในตรงจุดนี้ไม่ได้)

    เช่น ถ้าไม่เคยเข้าฌานได้ ย่อมไม่รู้อารมณ์ฌาน ไม่รู้ว่าในหนังสือเขาเขียนไว้แบบนั้นเพราะอะไร เป็นแต่เพียงนักท่องจำตำรามาเท่านั้น
    เวลาไปบอกสอนเรื่องฌานสมาธิให้แก่ผู้อื่น ก็ย่อมมีโอกาสที่จะส่งต่อความเข้าใจผิดไปยังผู้อื่นได้ เพราะตัวเองยังทำไม่ได้-ยังทำไม่ถึง
    (เช่น ไม่มีความรู้เรื่อง นิโรธสมาบัติ ก็เลยบอกปัดไปว่าเป็นแค่การใช้คำแปลกๆมาหากินเท่านั้น สอนแบบคนไม่รู้เรื่องฌานสมาธิ ผิดทางมากๆ)

    เฉกเช่นเดียวกัน ความเป็นพระอริยะเจ้านั้น ถ้าตัวเองยังไม่ได้บรรลุธรรมในขั้นนั้น ก็ย่อมที่จะไม่รู้อารมณ์ของพระอริยะเจ้าในขั้นนั้น
    ไม่รู้ว่าในหนังสือเขาเขียนไว้แบบนั้นเพราะอะไร เป็นแต่เพียงนักท่องจำตำรามาเท่านั้น โอกาสที่จะตีความอารมณ์พระอริยะเจ้าผิดทาง ก็เกิดขึ้นได้
    (เช่น การตีความอารมณ์พระอรหันต์ผิด ที่บอกว่า พระอรหันต์ ยังมี ราคะ,โทสะ,โมหะ อยู่ เพียงแต่ดับเร็ว เป็นการสอนธรรมะแบบผิดทางอย่างชัดเจน)

    เฉกเช่นเดียวกับเรื่อง ภาษาบาลี ถ้าผู้ใดไม่มีความรู้ความชำนาญในภาษาบาลี เขาก็ย่อมมีโอกาสที่จะตีความหมายคำบาลีผิดทาง ผิดความหมายไปได้
    เวลาไปบอกสอนต่อไปยังผู้อื่น เขาก็อาจจะนำพาเอาความเข้าใจผิดส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ (หรือไม่เขาก็อาจจะโบ้ยไปเลยว่า ภาษาบาลี ไม่ต้องเรียนก็ได้)
    (ถ้ามีใครมาบอกกับคุณว่า ภาษาบาลี ไม่จำเป็นจะต้องเรียน ให้คุณนึกเอะใจถามตัวเองดูว่า ที่เขาพูดแบบนั้นก็เพราะว่ามันไม่จำเป็นจริงๆหรือ?)
    (หรือว่าที่เขาพูดแบบนั้น ก็เพื่อที่จะ "อำพราง" ความไม่รู้ในภาษาบาลีของตนเองกันแน่?)


    พระธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ปรัชญาทางโลก เหมือนความรู้อื่นๆ
    จึงไม่สามารถที่จะใช้หลักปรัชญา หรือหลักทักษะแนวคิดทั่วๆไปทางโลก มาตีความพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้

    จะต้องอาศัยการปฏิบัติตนให้ "เข้าถึง" จึงจะสามารถ "รู้ตาม" ได้ (ไม่ใช่อาศัยแค่การท่องจำตำราได้เฉยๆ แต่ต้องปฏิบัติได้ และเข้าถึงธรรมนั้นๆได้)

    ผู้ที่เข้าถึงระดับ พระอรหันต์ ก็จะมีความรู้ในระดับ อรหันต์ หรือต่ำกว่านั้นลงไป
    ผู้ีที่เข้าถึงระดับ พระอนาคามี ก็จะมีความรู้ในระดับ อนาคามี หรือต่ำกว่านั้นลงไป
    ผู้ที่เข้าถึงระดับ พระสกิทาคามี ก็จะมีความรู้ในระดับ สกิทาคามี หรือต่ำกว่านั้นลงไป
    ผู้ที่เข้าถึงระดับ พระโสดาบัน ก็จะมีความรู้ในระดับ โสดาบัน หรือต่ำกว่านั้นลงไป

    เพราะฉนั้นผู้ที่เข้าถึงในระดับใด ก็จะเข้าใจได้แค่ในระดับนั้น หรือต่ำกว่านั้นลงไป จะไม่สูงไปกว่านั้น

    เมื่อคนผู้นั้น ได้มาอ่านและศึกษา พระธรรมของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฏกนั้น
    ผู้ที่ศึกษานั้น ก็จะเข้าใจได้แค่ในระดับที่ตัวเองเข้าถึงเท่านั้น

    ระดับที่สูงกว่าที่ตนเองเข้าถึง "จะไม่สามารถเข้าใจได้" หรือ "เข้าใจได้ไม่ครบ"

    เพราะฉนั้น ผู้ศึกษาพระธรรม จึงไม่ควรที่จะคิดเขียนตำราใหม่
    หรือไม่ควรที่จะไป เปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข หรือ ตัดทอน สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้บัญญัติเอาไว้ดีแล้ว


    และเมื่อ ระดับที่สูงกว่าที่ตนเองเข้าถึง "จะไม่สามารถเข้าใจได้" หรือ "เข้าใจได้ไม่ครบ" นั้น
    เขาก็อาจจะ เอาความเข้าใจผิด หรือ เอาความเข้าใจไม่ครบของเขา มาสอนต่อให้แก่คุณอีกทีหนึ่ง (ทำให้หลงผิดไปตามๆกัน)

    และเมื่อ คนๆนั้นคิดจะมาตัดทอนพระไตรปิฎก
    เขาก็อาจจะ เอาความเข้าใจผิด หรือ เอาความเข้าใจไม่ครบของเขา ไปตัดทอนพระไตรปิฎกตามความไม่รู้ของเขา

    บทไหนที่เขาไม่รู้ เขาไม่เข้าใจ เขาไม่เข้าถึง เขาก็อาจจะบอกว่ามันเป็นเท็จ หรือเชื่อถือไม่ได้ สมควรที่จะตัดทิ้ง (ตามความไม่รู้ของเขา)
    (และชาวบ้านทั่วไปที่ไม่มีความรู้ก็หลงเชื่อตามเขา เพราะเขาอ้างว่าพูดสอนแต่คำของพระพุทธเจ้า มาปิดล็อคความสงสัยเอาไว้ ทำให้มองข้ามไป)


    และแม้แต่ผู้ที่เข้าถึงความเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม แต่พระอรหันต์ก็มีหลายหมวด และพระอรหันต์ในแต่ละหมวดก็ยังมีความรู้ไม่เท่ากัน

    ofzipdq5w5zBf1zJA0W-o.jpg
    หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว มีการสังคายนาพระธรรมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
    โดยคัดเลือกเอาแต่เฉพาะพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ 500 รูป มาร่วมสังคายนาเท่านั้น
    แม้แต่ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในหมวดอื่นๆ ก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าร่วมในการสังคายนาในครั้งนี้ได้เลย
    (เพราะว่าพระอรหันต์ในหมวดอื่นๆยังมีความรู้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด จึงไม่ให้เข้าร่วมสังคายนาด้วย) (จิตสะอาดเท่ากัน แต่รู้ไม่เท่ากัน)


    เพราะฉนั้น ถ้าใครในยุคปัจจุบันนี้ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์แบบปฏิสัมภิทาญาณ ก็อย่าได้คิดเสนอตัวไป แก้ไข หรือ ตัดทอน พระไตรปิฎก
    เพราะคุณไม่อาจจะรู้ได้ว่า ข้อความไหนในพระไตรปิฎกที่เป็นเท็จ หรือข้อความไหนที่ถูกต้อง หรือว่าถูกต้องทั้งหมดคุณก็ไม่รู้ เพราะว่าความรู้คุณไม่ถึง
    ขืนไปแก้ไขหรือตัดทอนพระไตรปิฎก ทั้งๆที่ตัวเองไม่มีความรู้จริง ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ก็เท่ากับว่าคุณหานรกใส่หัวตัวเองเปล่าๆ

    และเป็นการหานรกใส่หัวแบบหนักหนามหาศาลเสียด้วย เพราะคนรุ่นหลังอาจจะหลงผิดตามคุณจำนวนมาก เพราะใช้ตำราที่คุณตัดทอนผิดๆทิ้งเอาไว้
    (ถ้ามีความรู้ไม่ถึง แต่คิดจะไปตัดทอนพระไตรปิฎก ผมว่าคุณเอามีดมาตัดแขนตัดขาตัวเองทิ้ง ยังดูฉลาดกว่า เพราะทุกข์น้อยกว่า ไม่ต้องตกนรกนาน)

    เพราะฉนั้น ถ้าใครในยุคปัจจุบันนี้ ต้องการจะ เปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข หรือ ตัดทอน พระธรรมของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกนั้น
    คุณควรจะถามตัวเองว่า คุณเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณแล้วหรือ? ถึงได้กล้าพูดว่าจะตัดตรงนั้นทิ้ง-จะตัดตรงนี้ทิ้ง? ตามใจตนเอง?

    ใช้วิธีแยกแยะว่าตรงไหนเป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า โดยดูที่คำว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" มีอยู่หน้าท่อนไหน ก็เอาแต่ท่อนนั้น มันไม่ง่ายไปหน่อยหรือ?

    ชาวบ้านรักและศรัทธาในพระพุทธเจ้ามาก แต่ชาวบ้านก็มักจะไม่ค่อยมีความรู้ พอได้ยินใครอ้างว่าเขาพูดสอนแต่คำของพระพุทธเจ้า ก็หลงเชื่อทันที
    เพราะชาวบ้านไม่มีความรู้มากพอที่จะไปตรวจสอบคำสอนของเขา ว่าเขากำลังสอนบรรยายขยายความพุทธวจนะได้อย่างถูกต้องตรงทางอยู่หรือไม่?
    (เห็นใครห่มเหลืองมาอ้างว่าสอนแต่คำพูดของพระพุทธเจ้า ชาวบ้านก็หลงเชื่อตามทันที โดยไม่ตรวจสอบ)

    พุทธวจนะของพระพุทธเจ้านั้น ดีเลิศจริงแท้แน่นอน แต่คนที่จะมาบรรยายขยายความพุทธวจนะให้คุณฟังนั้น
    เขาจะบรรยายขยายความพุทธวจนะได้อย่างถูกต้องตรงทางหรือไม่? คุณเคยนึกเอะใจตรวจสอบในเรื่องนี้หรือไม่?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2017
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากชาวมหาวิหาร

    รวมกระทู้และข้อมูล กรณีปัญหาวัดนาป่าพง

    จดหมายเปิดผนึกเรียนเลขาธิการมหาเถรสมาคมเรื่องกรณีวัดนาป่าพง
    จากคุณ : สติ เขียนเมื่อ : 24 ส.ค. 54




    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10977794/Y10977794.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10977794/Y10977794.html )


    เอกสารแนบ - จดหมายเรียนเลขาธิการมหาเถรสมาคม - เรื่องกรณีวัดนาป่าพง{แตกประเด็นจาก Y10977794}
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 29 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10995531/Y10995531.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10995531/Y10995531.html )


    จดหมายเปิดผนึกเรียนมหาเถรสมาคมเรื่องการสวดปาฏิโมกข์{แตกประเด็นจาก Y10995531}
    จากคุณ : สติ เขียนเมื่อ : 5 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11026363/Y11026363.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11026363/Y11026363.html )


    ----------------------------------------------------------------------------



    สิกขาบท ปาฏิโมกข์ 227 - รากแก้วพระพุทธศาสนา และเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 22 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10965219/Y10965219.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10965219/Y10965219.html )

    http://webcache.googleusercontent.c...65219.html+Y10965219&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=de


    กรณีสิกขาบท 150!!
    จากคุณ : ฮิมาวาริซซัง เขียนเมื่อ : 8 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10909881/Y10909881.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10909881/Y10909881.html )


    พระพรหมคุณาภรณ์ตอบเรื่อง สิกขาบท 150 ข้อ (จากกรณีพระคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง)
    จากคุณ : Gurebu เขียนเมื่อ : 1 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10884264/Y10884264.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10884264/Y10884264.html )

    ------------------------------------------------------------



    กรณีวัดนาป่าพงตัดปาฏิโมกข์ 227 เหลือ 150 - สรุปว่า 150 พระพุทธองค์ตรัสไว้ช่วงกลางพุทธกาล{แตกประเด็นจาก Y10660106}
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 9 มิ.ย. 54 05:36:00
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10662595/Y10662595.html


    พระวินัยปิฎก๒เล่มแรก ก็คือ ปาฏิโมกข์ ๒๒๗นี่เอง - เมื่อคืนผมนั่งไล่ดูอย่างละเอียดสรุปได้ว่า{แตกประเด็นจาก Y10662595}
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 12 มิ.ย. 54 16:33:48
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10676377/Y10676377.html


    ว่าด้วยปาติโมกข์ 227 หรือ 150
    จากคุณ : Garcinia เขียนเมื่อ : 29 มิ.ย. 54 12:21:48
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10748880/Y10748880.html


    ถามนิดนึง เรื่องสวดปาฏิโมกข์ กับ อาบัติ{แตกประเด็นจาก Y10688364}
    จากคุณ : ฮิมาวาริซซัง เขียนเมื่อ : 15 มิ.ย. 54 15:28:35
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10689357/Y10689357.html


    จากสันติอโศก...สู่วัดนาป่าพง
    จากคุณ : ฮิมาวาริซซัง เขียนเมื่อ : 17 มิ.ย. 54 23:13:41
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10700500/Y10700500.html


    พระอาจารย์คึกฤทธิ์กับพุทธวจน;วัดนาป่าพง
    จากคุณ : amlee เขียนเมื่อ : 9 มี.ค. 54 09:59:10
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/03/Y10321508/Y10321508.html


    นอกจาก อนุตตรธรรม ธรรมกาย โยเร แล้ว ยังมีลัทธิไหนบ้างที่คล้ายกัน
    จากคุณ : จันทรประภา เขียนเมื่อ : 29 มิ.ย. 54 02:44:15
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10747464/Y10747464.html


    ข้อสงสัยของผมกับการสวดปาฏิโมกข์ 150ข้อ ของวัดนาป่าพง...
    จากคุณ : chohokun เขียนเมื่อ : 8 มิ.ย. 54 00:55:50
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10657788/Y10657788.html


    ถ้าท่าน หรือญาติมิตรจะบวช ท่านจะเลือกวัดที่สวดปาฏิโมกข์กี่ข้อ
    จากคุณ : สติ เขียนเมื่อ : 15 มิ.ย. 54 11:49:11
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10688364/Y10688364.html


    ขอโทษนะครับเพื่อนๆ หลังจากใคร่ครวญเหตุผลแล้ว ผมขอเปลี่ยนใจมาอยู่ค่ายสวดแค่ 150 ข้อแทนครับ
    จากคุณ : อย่ามารู้จัก เดี๋ยวจะหลงรักผม เขียนเมื่อ : 12 ก.ค. 54 16:31:04
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/07/Y10803815/Y10803815.html


    เจ้าสำนักวัดนาฯ 150 ซึ่งไม่เคยเรียนบาลีจบแม้ประโยคเดียว แต่เสนอว่าหลักสูตรการเรียนบาลีผิด นี่คือข้อเสนอของคนบ้าชัดๆ..
    จากคุณ : โขตาน เขียนเมื่อ : 4 ส.ค. 54 00:27:16
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10893409/Y10893409.html


    ตามเงื่อนไขเวลา... ภิกขุปาฏิโมกข์ ไม่ใช่ 150
    จากคุณ : ยามประจำวัน เขียนเมื่อ : 1 ส.ค. 54 21:25:37
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10883713/Y10883713.html


    พุทธนิกายเถรวาทถือเอาตามมติของที่ประชุมพระมหาเถระ ดังนั้นสำนักไหนฝืนมตินี้เช่นนาป่าพงหรือธรรมกายก็ไม่ควรอยู่ในเถรวาท
    จากคุณ : โขตาน เขียนเมื่อ : 29 ก.ค. 54 03:08:12
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/07/Y10868785/Y10868785.html


    คณะสงฆ์สามารถจะสวดญัตติ ปรับอาบัติสังฆาทิเสสพระคึกฤทธิ์ได้ ถ้า..
    จากคุณ : โขตาน เขียนเมื่อ : 23 ก.ค. 54 20:51:31
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/07/Y10846756/Y10846756.html


    วัดนาฯ ด้วย ผู้นับถือด้วยไม่ต้องสวดมนต์ ทำวัตรหรอก เลิกเหอะ!!!
    จากคุณ : abhirakk เขียนเมื่อ : 26 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10875817/Y10875817.html

    ( http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:zY0xKZ8Car4J:www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10986073/Y10986073.html+วัดนาฯ+ด้วย+ผู้นับถือด้วยไม่ต้องสวดมนต์+ทำวัตรหรอก+เลิกเหอะ!!!&cd=1&hl=th&ct=clnk )


    เจ้าสำนักวัดนาป่าพงควรลาสิกขาไปได้แล้ว อยู่หลอกลวงตนเองและคนอื่นๆไปทำไม
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10958355/Y10958355.html

    "ตามหากระทู้.. ที่ท่านโขตานเสนอ ให้เจ้าสำนักวัดนาป่าพงลาสิกขา"
    จากคุณ : ลิงโลด เขียนเมื่อ : 23 ส.ค. 54 11:14:28
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10970839/Y10970839.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10970839/Y10970839.html )


    บทความใหม่จากพระพรหมคุณาภรณ์ กรณีไตรปิฎก สิกขาบท 150/227 และ กรณีนายฤทธีที่ถูกอัปเปหิจากบอร์ดไปแล้ว
    จากคุณ : Gurebu เขียนเมื่อ : 17 ส.ค. 54 15:21:39
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10947957/Y10947957.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10947957/Y10947957.html )


    รบกวนผู้ที่ได้สัมผัสวัดนาป่าพงช่วยแสดงความคิดเห็นของ คุณชาวมหาวิหาร เกี่ยวกับการบวชพระที่วัดนาปาพง ด้วยค่ะ
    จากคุณ : เนตังมม เขียนเมื่อ : 18 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10953657/Y10953657.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10953657/Y10953657.html )


    กรณีวัดนาฯ เพื่อนๆจัดอยู่ในคนกลุ่มไหนครับ
    จากคุณ : ฮิมาวาริซซัง เขียนเมื่อ : 22 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10966594/Y10966594.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10966594/Y10966594.html )


    more than a hundred and fifty rules >150 จากพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ แปลโดย E. M. Hare - Pali Text Society
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 26 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10983700/Y10983700.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10983700/Y10983700.html )


    ------------------------------------------------------------



    สิกขาบทในปาิติโมกข์ ในหนังสือวินัยมุข เล่ม๑
    จากคุณ : Garcinia; เขียนเมื่อ : 19 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10956774/Y10956774.html

    ( http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ZjeC1HgKhV8J:www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10956774/Y10956774.html+สิกขาบทในปาิติโมกข์+ในหนังสือวินัยมุข+เล่ม๑&cd=1&hl=th&ct )

    ฉบับเต็ม - หนังสือวินัยมุข เล่ม ๑
    http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/naktham/06.pdf


    จากพุทธพจน์นี้ทรงบอกไว้ชัดเจนให้ ภิกษุไม่สามารถบัญญัติเพิ่มเติมเสริมแต่งใหม่ หรือตัดทอนคำสอนของพระพุทธองค์
    จากคุณ : light pad เขียนเมื่อ : 27 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10990769/Y10990769.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10990769/Y10990769.html )


    กรณี พระคึกฤทธิ์ หลอกอ้างพุทธวจนะ เพื่อปฏิเสธ เรื่อง ญาณ ๑๖
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 26 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10986213/Y10986213.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10986213/Y10986213.html )


    ให้ฟังแต่ "คำที่ออกจากปากพระพุทธเจ้า" เท่านั้น -- กรณี พระคึกฤทธิ์ หลอกอ้างพุทธวจนะ เพื่อปฏิเสธ คำพระอริยะเจ้า
    จากคุณ : ชาวมหาวิหาร เขียนเมื่อ : 26 ส.ค. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10986034/Y10986034.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10986034/Y10986034.html )


    มุมมองการสวดพระปาฏิโมกข์ 150 / 227
    จากคุณ : Thus Spoke Eitthakorna เขียนเมื่อ : 7 ก.ย. 54 18:56:25
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11038200/Y11038200.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11038200/Y11038200.html )


    ----ใครคือพระอุปัชฌาย์ของพระคึกฤทธิ์??
    จากคุณ : Bitter Coffee เขียนเมื่อ : 9 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11044282/Y11044282.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11044282/Y11044282.html )


    โทรไปถามเรื่องพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คึกฤทธิ์แล้ว
    จากคุณ : annyfatgirl เขียนเมื่อ : 13 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11062554/Y11062554.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11062554/Y11062554.html )


    สิกขาบทภิกขุปาติโมกข์ ที่เป็นพุทธวจน บาลี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้นำสิกขาบทฯนี้ขึ้นแสดง มีปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่ใช่ ๑๕๐
    จากคุณ : ยามประจำวัน เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11089675/Y11089675.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11089675/Y11089675.html )


    พุทธ(ะ)วงศ์มีหนึ่งเดียว...จากเถรวาท(ะ)...สู่อาจาริยวาท(ะ)แห่งเถรวาท
    จากคุณ : Thus Spoke Eitthakorna เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11093665/Y11093665.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11093665/Y11093665.html )


    พุทธวจน ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม
    จากคุณ : light pad เขียนเมื่อ : 20 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11092670/Y11092670.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11092670/Y11092670.html )


    มิจฉาวาจาของผู้ที่ชอบตั้งกระทู้ป่วนวัดนาป่าพง
    จากคุณ : just the way it is เขียนเมื่อ : 16 ก.ย. 54
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11074775/Y11074775.html

    ( http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11074775/Y11074775.html )


    และ

    บทความจากท่านพระพรมคุณาภรณ์ต่อการข้อเขียนของพระคึกฤทธิ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์
    http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/thai_monks_nibhan-anatta.pdf

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2017
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เริ่มมีผู้สนใจ " ปฎิสัมภิทาญาน "เหมือนกัน ตอนนี้กำลังโหลดอยู่ เอาเป็นว่าจะฟังการอธิบายนั้นดู ว่าท่านอธิบายอย่างไร อ้างอิงตามพระสูตร หรือ กำลังพูดถึงสภาวะที่ได้เข้าถึงแล้ว



    หัวข้อแนะนำให้ฟังครับ ปฏิสัมภิทามรรคของพระสารีบุตร อธิบายโดย พอจ.สมบัติ นันทิโก


    https://pantip.com/topic/32058579
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระมหานามเถระ

    ความที่ปฏิสัมภิทามรรคเป็นมรรคาแห่งปฏิสัมภิทา ข้าพเจ้าต้องกล่าวก่อน เพราะได้กล่าวไว้แล้วในคันถารัมภกถาว่า ปฏิสมฺภิทานํ มคฺโคติ ตนฺนามวิเสสิโต จ แปลว่า ซึ่งวิศิษฐปาฐะนั้น โดยนามอันวิเศษว่า ปฏิสัมภิทามรรค.
    ก็ปฏิสัมภิทามี ๔ คือ
    ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ,
    ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม,
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ,
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ.
    ทางคืออุบายเป็นเครื่องบรรลุปฏิสัมภิทาเหล่านั้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า
    ปฏิสัมภิทามรรค.
    มีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะซึ่งปฏิสัมภิทา.
    หากจะมีปุจฉาว่า ทางนี้เป็นทางแห่งปฏิสัมภิทาได้ เพราะเหตุไร? ก็พึงมีวิสัชนาว่า เพราะเป็นเทสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยประเภท เป็นเทสนาอันนำมาซึ่งปฏิสัมภิทาญาณ.
    จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีประเภทต่างๆ เทสนาก็มีประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต.


    จากที่เคยอ่านไปเพียงหนึ่งหน้า
    ต่อไปนี้ จะเริ่มเรียนต่อ ในหน้าที่ ๒ หากมีเวลา จะเรียนวันละหนึ่งหน้าเพิ่มเติม ตอนนี้พอมีกำลังแห่งศีลอยู๋บ้างเพราะสวดมนต์ไหว้พระทำสมาธิ ด้วยกระแสนิรุตติญานทัสสนะกถาที่ท่านแสดงไว้โดยแปลมาแล้ว ท่านถ่ายทอดยังธรรมสมบัตินี้ไว้ให้เหล่าเสขะปฎิสัมภิทาโดยมีความมุ่งหมายอย่างไร?

    คันถารัมภกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงพระคุณ
    ครบถ้วนล้วนแล้วด้วยความงามทุกสิ่งล่วงเสียซึ่ง
    ความงามของโลกทั้งปวง ทรงพ้นจากกิเลสมลทิน
    เป็นเครื่องประทุษร้ายพร้อมทั้งวาสนา ทรงประทาน
    วิมุตติธรรมอันล้ำเลิศ.
    พระองค์ทรงมีพระทัยเยือกเย็นดุจความเย็น
    แห่งไม้จันทน์ กล่าวคือพระกรุณาอยู่เป็นนิจ ทรง
    พระปัญญาโชติช่วงดังดวงระวี มีธรรมเป็นเครื่องแนะ
    นำสัตว์.
    ข้าพเจ้า๑- ขอน้อมอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
    พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้เลิศในหมู่สัตว์ ผู้เป็นที่พึ่งใน
    ประโยชน์แก่ปวงสัตว์ด้วยเศียรเกล้า.
    บรรดาพระมหาเถระผู้พุทธชิโนรสมีจำนวน
    เป็นอนันต์, พระมหาเถระองค์ใดเป็นประดุจดังพระ
    มุนีผู้เลิศในหมู่สัตว์ทั้งปวง ได้เป็นผู้กระทำตามลีลา
    แห่งพระศาสดา ในการบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่
    ชุมชนด้วยคุณกล่าวคือกรุณาและปัญญาญาณ.
    ข้าพเจ้าขอนมัสการพระเถระองค์นั้นผู้มีนาม
    ว่า สารีบุตร ผู้มุนีราชบุตร ผู้ยินดียิ่งในเสถียรคุณเป็น
    อเนก ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างแห่งปัญญามีเกียรติงาม
    ฟุ้งขจรไป และมีจริยาวัตรสงบงาม.
    วิศิษฐปาฐะคือพระบาลีอันใดอันพระสาวก
    ผู้สัทธรรมเสนาบดีผู้ประกาศพระสัทธรรมจักรผู้เข้า
    ถึงความแจ่มแจ้งในอรรถะตามความเป็นจริง ในพระ
    สูตรทั้งหลายที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว ผู้นำ
    ในการยังธรรมประทีปให้โชติช่วง กล่าววิศิษฐปาฐะ
    นั้นไว้ โดยนามอันวิเศษว่า ปฏิสมฺภิทานํ มคฺโค
    แปลว่า ทางแห่งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
    ปฏิสัมภิทามรรคนั้น เป็นปกรณ์อันละเมียด
    ละมัยด้วยอรรถะและนยะต่างๆ อย่างวิจิตร อัน
    บัณฑิตผู้มุ่งบำเพ็ญอัตตัตถะ ประโยชน์ตน และ
    โลกัตถะ ประโยชน์แก่ชาวโลก มีปัญญาลึกซึ้งจะ
    พึงหยั่งรู้ได้ในกาลทุกเมื่อ และสาธุชนทั้งหลายจะ
    พึงซ่องเสพอยู่เป็นนิจ.
    ข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความที่ไม่ซ้ำกันไป
    ตามลำดับ ไม่ก้าวล่วงสุตตะและยุติแห่งปฏิสัมภิทา-
    มรรคปกรณ์นั้น อันนำมาซึ่งประเภทแห่งญาณ อัน
    พระโยคาวจรทั้งหลายเป็นอเนกซ่องเสพแล้ว โดย
    ไม่เหลือ.
    อนึ่งนั้นเล่าก็จะไม่ก้าวล่วงลัทธิของตนและ
    จะไม่ก้าวก่ายลัทธิของผู้อื่น แต่จะรวบรวมเอา
    อุปเทสและนยะแห่งอรรถกถาแต่ปางก่อนมาแสดง
    ตามสมควร.
    ข้าพเจ้าจะกล่าวอรรถกถาชื่อสัทธรรมปกาสินี
    นั้นโดยเคารพ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชุมชน เพื่อ
    ความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมตลอดกาลนาน
    ขอสาธุชนสัตบุรุษจงตั้งใจสดับทรงจำไว้เถิด.


    ข้าพเจ้าขอนมัสการพระเถระองค์นั้นผู้มีนาม ว่า สารีบุตร ผู้มุนีราชบุตร ผู้ยินดียิ่งในเสถียรคุณเป็น อเนก ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างแห่งปัญญามีเกียรติงาม ฟุ้งขจรไป และมีจริยาวัตรสงบงาม.

    ด้วยความรักและเคารพศรัทธาอย่างสูง ขอกราบนมัสการขอบพระคุณครับฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2017
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปฏิสัมภิทาย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ เป็นไฉน?
    ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วยสวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยปุพพโยคะ.

    ในเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าอธิคม. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.

    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระพุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.

    การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่าสวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.

    กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและอรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่าปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวนอรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อมผ่องใส.
    การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนืองๆ จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ชื่อว่าปุพพโยคะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส.

    ปฏิสัมภิทาย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

    ก็ในบรรดาเหตุทั้ง ๕ เหล่านี้ เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ, สวนะ, ปริปุจฉา เป็นเหตุมีกำลังเพื่อความแตกฉานแล. ปุพพโยคะเป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อการบรรลุพระอรหัต.

    ถามว่า หมวด ๓ แห่งเหตุมีปริยัติเป็นต้น ย่อมมีเพื่อความแตกฉาน ไม่มีเพื่อความบรรลุหรือ?
    ตอบว่า มี, แต่ไม่ใช่อย่างนั้น. เพราะปริยัติ, สวนะและปริปุจฉา จะมีในปางก่อนหรือไม่ก็ตาม แต่เว้นการพิจารณาสังขารธรรมด้วยการบำเพ็ญเพียรในปางก่อน และการพิจารณาสังขารในปัจจุบันเสียแล้ว ชื่อว่าปฏิสัมภิทา ก็มีไม่ได้. เหตุและปัจจัยทั้ง ๒ นี้รวมกันช่วยอุปถัมภ์ปฏิสัมภิทา กระทำให้ผ่องใสได้ด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • z_pic350.jpg
      z_pic350.jpg
      ขนาดไฟล์:
      348.6 KB
      เปิดดู:
      75

แชร์หน้านี้

Loading...